ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและศักยภาพของนักศึกษา กับความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก ของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชาเทคนิคเภสัชกรรม วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • กมลรัตน์ นุ่นคง

คำสำคัญ:

ศักยภาพของนักศึกษา, ความสามารถในการแก้ปัญหา, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, การเรียนโดยใช้ปัญหา เป็นหลัก

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ศักยภาพของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชาเทคนิคเภสัชกรรม 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและ ศักยภาพของนักศึกษากับความสามารถในการแก้ปัญหา และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและ ศักยภาพของนักศึกษากับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก เก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาหลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชาเทคนิคเภสัชกรรม ชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบทดสอบ นำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า

  1. ศักยภาพของนักศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M=3.34, SD=.48)
  2. ศักยภาพของนักศึกษาในภาพรวม (r s =.672) ศักยภาพด้านบูรณาการ (r s =.623) ศักยภาพด้านความ เป็นตัวของตัวเอง (r s =.544) ศักยภาพด้านเป้าหมายในชีวิต (r s =.518) และศักยภาพด้านความสัมพันธ์ระหว่าง บุคคล (r s =.513) มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับความสามารถในการแก้ปัญหา อย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ .05
  3. ศักยภาพด้านเป้าหมายในชีวิต (r s =.586) ศักยภาพด้านความมีเอกลักษณ์ (r s =.503) และศักยภาพ ของนักศึกษาในภาพรวม (r s =.500) มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดย ใช้ปัญหาเป็นหลัก อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ดังนั้นอาจารย์ควรมีการจัดกิจกรรมเสริมศักยภาพด้านต่าง ๆ แก่นักศึกษาก่อนการจัดการเรียนการสอน โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-27