สถานการณ์การดูแลและความต้องการการดูแลระยะยาว สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในชุมชนมุสลิมเขตชนบทภาคใต้ของไทย

ผู้แต่ง

  • สรวงสุดา เจริญวงศ์
  • พรทิวา คงคุณ
  • นิภารัตน์ จันทร์แสงรัตน์
  • เพียงตะวัน สีหวาน

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง, ความต้องการการดูแล, การดูแลระยะยาว, ชุมชนมุสลิม, ภาคใต้

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ศึกษาในชุมชนมุสลิมเขตชนบทภาคใต้แห่งหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ การดูแล และความต้องการการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง แบ่งการศึกษาเป็น 2ส่วน ประกอบด้วยการศึกษาเชิงปริมาณ ใช้แบบประเมินภาพสุขภาพของผู้สูงอายุที่ผู้วิจัย ปรับปรุงขึ้น ประกอบด้วย6ส่วน ได้แก่1)ข้อมูลทั่วไป 2)ข้อมูลสุขภาพกาย3)แบบประเมินดัชนีบาร์เธลเอดี แอล 4) แบบประเมินภาวะซึมเศร้า 5) ข้อมูลสุขภาพสังคม และ 6) ข้อเสนอแนะในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะ พึ่งพิง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในชุมชน จำนวน 100 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ส่วนการศึกษา เชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสังเกตการสนทนาธรรมชาติการสัมภาษณ์เชิงลึกการสนทนากลุ่ม และการบันทึกภาคสนาม ผู้ให้ข้อมูลรวมทั้งสิ้น 30คน ประกอบด้วยผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ผู้ดูแลหลักและภาคีที่เกี่ยวข้องกับการดูแล ระยะยาวในชุมชน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า

ชุมชนที่ศึกษามีสัดส่วนของผู้สูงอายุภาวะติดบ้าน ติดเตียง และติดสังคมเป็น 2:3:95 โรคความดัน โลหิตสูง และอุบัติเหตุเป็นจุดเปลี่ยนที่นำสู่ภาวะพึ่งพิง วิถีการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงอยู่ภายใต้วิถีมุสลิม และศักยภาพชุมชนในการพัฒนาการดูแลระยะยาว ได้แก่ ทุนทางวัฒนธรรม และทุนระดับบุคคล โดยคนใน ชุมชนยึดมั่นในคำสอนของศาสนาอิสลามและมีจิตสาธารณะ ส่วนความต้องการการดูแลของผู้สูงอายุ ได้แก่ เพื่อนคุยคลายความเหงา การสนับสนุนข้อมูลการดูแล อุปกรณ์เครื่องช่วยเหลือ และการช่วยเหลือดูแลบางเวลา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-27