ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรุนแรงในครอบครัวของเด็กวัยเรียน
คำสำคัญ:
ความรุนแรงในครอบครัว, ความเครียดของการเป็นบิดามารดา, ความสัมพันธ์ในครอบครัว การสื่อสาร ในครอบครัว, เด็กวัยเรียนบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยครอบครัวกับความรุนแรง ในครอบครัวของเด็กวัยเรียน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยครอบครัวของเด็กวัยเรียนที่อาศัยอยู่ในชุมชนอุตสาหกรรม เกษตรกรรมประมง และท่องเที่ยว จังหวัดชลบุรี จำนวน 269 ครอบครัว เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่ม แบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถาม ความสัมพันธ์ในครอบครัว แบบสอบถามการสื่อสารในครอบครัว แบบสอบถามความเครียดของการเป็นบิดา มารดา และแบบสอบถามความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งแบบสอบถามการสื่อสารในครอบครัว ผู้วิจัยพัฒนาและ ผ่านการตรวจสอบเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ได้ค่า CVI เท่ากับ .87 และหาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้ค่า สัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .80 - .85 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า
ปัจจัยด้านประวัติความรุนแรงในครอบครัวด้านวาจา ประวัติการทะเลาะวิวาทในครอบครัว และ ความเครียดของการเป็นบิดามารดา มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับความรุนแรงในครอบครัวของเด็ก วัยเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.19, p<.01 และ r=.19, p<.01 ตามลำดับ) ส่วนปัจจัย ด้านความสัมพันธ์ในครอบครัวและการสื่อสารในครอบครัวมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำกับความรุนแรง ในครอบครัวของเด็กวัยเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.35, p<.01 และ r=.19, และ -.20, p,.01)
ดังนั้นพยาบาลและบุคลากรทางสุขภาพอื่น ควรช่วยป้องกันความรุนแรงในครอบครัวของเด็กวัยเรียน โดยทำความเข้าใจบริบทของครอบครัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งประวัติความรุนแรงในครอบครัวด้านวาจา ประวัติ การทะเลาะวิวาทในครอบครัว ความเครียดของการเป็นบิดามารดา ความสัมพันธ์ในครอบครัว และการสื่อสาร ในครอบครัว เพื่อที่จะพัฒนาโปรแกรมการป้องกันความรุนแรงในครอบครัวเด็กวัยเรียนได้อย่างเหมาะสม
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้