กลุ่มอาการไม่พึงประสงค์ที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
คำสำคัญ:
โรคไตเรื้อรัง, กลุ่มอาการไม่พึงประสงค์, ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลุ่มอาการไม่พึงประสงค์ที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตใน ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ตามแนวคิดทฤษฎีอาการไม่พึงประสงค์ (Theory of Unpleasant Symptoms) กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3-4 ที่มารับบริการที่คลินิกผู้ป่วยนอกโรคไตเรื้อรัง โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ใน จังหวัดร้อยเอ็ด ระหว่างเดือนมกราคม - มีนาคม 2559 ถูกคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 150 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบประเมินอาการไม่พึงประสงค์ในผู้ป่วย โรคไตเรื้อรัง และแบบประเมินคุณภาพชีวิตทั่วไป (SF-36) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติวิเคราะห์ องค์ประกอบ และสถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า
กลุ่มอาการไม่พึงประสงค์หลักในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังสามารถจัดได้เป็น 6 กลุ่ม คือ กลุ่มอาการทางจิตใจ และอารมณ์ กลุ่มอาการผิดปกติของประสาทส่วนปลาย กลุ่มอาการอ่อนเพลีย กลุ่มอาการระบบทางเดินอาหาร กลุ่มอาการปวด และกลุ่มอาการของเสียคั่ง โดยกลุ่มอาการปวด (Beta=-.220; p<.05)และกลุ่มอาการทาง จิตใจและอารมณ์ (Beta=-.204; p<.05)สามารถร่วมกันทำนายคุณภาพชีวิตได้ร้อยละ 19.10% อย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ (R2 =.191, p<.05)
การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า กลุ่มอาการปวด และกลุ่มอาการทางจิตใจและอารมณ์ ทำให้คุณภาพ ชีวิตของผู้ป่วยเลวลง พยาบาลจึงควรให้ความสนใจ ประเมิน และวางแผนการพยาบาลเพื่อจัดการกับกลุ่มอาการ ไม่พึงประสงค์ทั้งสองดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดระยะเวลาและความทุกข์ทรมานจากกลุ่มอาการ และ เพื่อส่งเสริมการมีคุณภาพที่ดีของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้