ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการค่าความดันโลหิต ในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง
คำสำคัญ:
โปรแกรมการจัดการตนเอง, กลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่ม วัดผลก่อนและหลังการทดลองนี้ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสนับสนุน การจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการค่าความดันโลหิตของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง โดยใช้ โปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเอง ตามแนวคิดของ Lorig & Holman (2003) กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยความ ดันโลหิตสูงที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นาท่ามใต้ อ.เมือง จ. ตรัง จำนวน 58 คน โดยกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรม สนับสนุนการจัดการตนเองจำนวน 10 สัปดาห์ และติดตามหลังโปรแกรมฯ 3 เดือน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .85 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่า Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. หลังเข้าร่วมโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการจัดการ ป้องกันโรคหลอดเลือดสมองมีค่า (M=83.93, SD=9.453) สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ (M=75.17, SD=4.425) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=6.179, df=28) และค่าความดันโลหิตซิสโตลิกและไดแอสโตลิกมีค่า (M=154.14, SD=12.217 และ M=90.66, SD=7.301 ตามลำดับ) ต่ำกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ (M=164.83, SD=17.954 และ M=94.14, SD=8.745 ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=2.926, df=28 และ t=2.065, df=28 ตามลำดับ)
- ความดันโลหิตซิสโตลิกและความดันโลหิตไดแอสโตลิกหลังการทดลองทันที กลุ่มทดลองมีค่า (M= 154.14, SD=12.217 และ M=90.66, SD=7.031 ตามลำดับ) ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (M=166.17, SD=12.312 และ M=94.59, SD=6.533 ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=3.736, df=56 และ t=2.161, df=56) หลังการทดลอง 3 เดือน ความดันโลหิตซิสโตลิกและความดันโลหิตไดแอสโตลิกกลุ่มทดลองมีค่า (M= 138.93, SD=14.107 และ M=81.93, SD=8.944 ตามลำดับ) ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (M=164.90, SD=8.869 และ M=93.93, SD=8.324 ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=8.391, df=56 และ t=5.289, df=56)
บุคลากรด้านสุขภาพควรนำกระบวนการสนับสนุนการจัดการตนเองในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคหลอด เลือดสมอง มาประยุกต์ใช้กับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองโดยเน้นการฝึก ทักษะและการจัดการตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดอัตราการเกิดภาวะโรคหลอดเลือดสมองให้น้อยลง
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้