การพัฒนาโปรแกรมฝึกอบรมจิตอาสาเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในชุมชน
คำสำคัญ:
จิตอาสานมแม่, การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่, ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่, ความพึงพอใจบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมฝึกอบรมจิตอาสาเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูก ด้วยนมแม่ในชุมชน 2)ตรวจสอบคุณภาพของโปรแกรมฯและ3) ประเมินความเหมาะสมในการนำโปรแกรมฯ ไปใช้การดำเนินการวิจัยมี3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ร่างเนื้อหาและรูปแบบกิจกรรม ระยะที่ 2 ตรวจสอบความ ตรงเชิงเนื้อหาและความเที่ยงของเครื่องมือวิจัย ระยะที่3 ประเมินความเหมาะสมในการนำโปรแกรมไปใช้กลุ่ม ตัวอย่างเป็นจิตอาสาในชุมชน จำนวน 15 คน ประเมินความรู้ก่อนใช้โปรแกรม และความพึงพอใจหลังใช้ โปรแกรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงบรรยาย และสถิติทีคู่ (Paired t-test) ผลการวิจัยพบว่า
- เนื้อหาของโปรแกรมฯ ประกอบด้วย ความรู้พื้นฐานและทักษะที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และบทบาทของจิตอาสานมแม่ส่วนรูปแบบของโปรแกรม ประกอบด้วย กิจกรรมการฝึกอบรม 3 รูปแบบ คือ 1) การบรรยายความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยใช้สไลด์พาวเวอร์พอยท์ร่วมกับวีดิทัศน์2) การฝึก ทักษะการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยให้ดูการสาธิตและทำการสาธิตย้อนกลับ และ 3)การอภิปรายกลุ่ม
- การตรวจสอบคุณภาพของโปรแกรมฯ พบว่าโปรแกรมฯ มีเนื้อหาและรูปแบบที่เหมาะสม โดย โปรแกรมมีเนื้อหาชัดเจน ภาษาเข้าใจง่าย ถูกต้องตามหลักวิชาการ มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา (CVI) เท่ากับ 1.0 แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีความเที่ยง (Reliability) เท่ากับ .83
- การตรวจสอบความเหมาะสมจากการนำโปรแกรมไปทดลองใช้พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลังการฝึกอบรม (M=17.73, SD=.96) สูงขึ้นกว่าก่อนการฝึกอบรม (M=15.73, SD= 1.83) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<.01 และจิตอาสามีความพึงพอใจต่อโปรแกรมการฝึกอบรมในระดับสูง (M=45.13, SD=3.78)
โปรแกรมฝึกอบรมจิตอาสาเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในชุมชนที่พัฒนาขึ้น จึงสามารถใช้เป็น แนวทางหนึ่งในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน การใช้โปรแกรมนี้เพื่อส่งเสริม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงน่าจะช่วยเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ที่ยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุมชน
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้