ปัจจัยทำนายการจัดการของครอบครัวผู้ป่วยเบาหวานที่มีโรคร่วม ในเขตเทศบาลนครตรัง

ผู้แต่ง

  • ปรีดา สาราลักษณ์
  • วรารัตน์ ทิพย์รัตน์
  • สดศรี ประทุม

คำสำคัญ:

การจัดการของครอบครัว, ผู้ป่วยเบาหวานที่มีโรคร่วม

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงทำนายมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายการจัดการของครอบครัวผู้ป่วยเบาหวานที่มี โรคร่วมในเขตเทศบาลนครตรัง ตามแนวคิดการจัดการของครอบครัว กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีบทบาทในการจัดการ ของครอบครัวผู้ป่วยเบาหวานที่มีโรคร่วม จำนวน 175 คน ได้มาโดยวิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามจำนวน 7 ชุด ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลของครอบครัว 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว 3) แบบสอบถามสัมพันธภาพในครอบครัว 4) แบบ สอบถามพฤติกรรมสุขภาพของครอบครัว 5) แบบสอบถามการรับรู้ความรุนแรงของโรคของครอบครัว 6) แบบ สอบถามเครือข่ายทางสังคม และ 7) แบบสอบถามการจัดการของครอบครัว เครื่องมือการวิจัยทุกชุดได้ผ่าน การตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และทดสอบความเชื่อมั่นได้ค่าอยู่ระหว่าง .73 - .82 วิเคราะห์ ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า

  1. การจัดการของครอบครัวผู้ป่วยเบาหวานที่มีโรคร่วม อยู่ในระดับปานกลาง (M=43.06, SD=5.81)
  2. ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการของครอบครัวผู้ป่วยเบาหวานที่มีโรคร่วมอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 คือ สัมพันธภาพในครอบครัวมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง พฤติกรรมสุขภาพ ครอบครัว และเครือข่ายทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำมาก (r=.402, .189, .193 ตามลำดับ)
  3. ตัวแปรที่สามารถพยากรณ์การจัดการของครอบครัวผู้ป่วยเบาหวานที่มีโรคร่วมได้ คือ สัมพันธภาพ ในครอบครัว และเครือข่ายทางสังคมร้อยละ 43.60 (R2 =.436) บุคลากรด้านสุขภาพควรนำปัจจัยด้านสัมพันธภาพในครอบครัวและเครือข่ายทางสังคม มาประยุกต์ ใช้กับการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานที่มีโรคร่วมที่ต้องมีการปรับพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดอัตราการ เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานที่มีโรคร่วมให้น้อยลง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-26