สถานการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพัฒนาการของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 5 ปี: การทบทวนวรรณกรรม

ผู้แต่ง

  • หนึ่งฤทัย เกื้อเอียด
  • ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์
  • สมเกียรติยศ วรเดช

คำสำคัญ:

พัฒนาการเด็ก, เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี, การทบทวนวรรณกรรม

บทคัดย่อ

พัฒนาการของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มีความสำคัญต่อการพัฒนาสู่การเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสมบูรณ์

พัฒนาการที่ผิดปกติ ส่งผลกระทบต่อการเสียโอกาสที่จะมีพัฒนาการก้าวหน้าตามวัย ทำให้เป็นภาระต่อ

ครอบครัวและสังคม บทความวิชาการฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนสถานการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์

ต่อพัฒนาการเด็กของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 5 ปี จากการทบทวนวรรณกรรม พัฒนาการของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี

เป็นวิถีชีวิตตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ 5 ปี เป็นช่วงวัยที่สำคัญที่สุดในการสร้างรากฐานของชีวิตและจิตใจ โดยมี

เครื่องมือในการวัดพัฒนาการ 2 ประเภท คือ การคัดกรองและการวินิจฉัยพัฒนาการเด็ก สำหรับปัจจัยที่มี

ความสัมพันธ์ต่อพัฒนาการเด็ก ได้แก่ ปัจจัยของมารดาและบิดา ปัจจัยของเด็ก การดูแลขณะตั้งครรภ์ และ

สิ่งแวดล้อม จากการทบทวนวรรณกรรมครั้งนี้ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรให้ความสำคัญในการเฝ้าระวังและ

ตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็กตามช่วงอายุ โดยใช้เครื่องมือในการตรวจคัดกรองให้เหมาะสมและถูกวิธี นอกจากนี้

การศึกษาครั้งต่อไปควรศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ให้ครอบคลุมเพื่อเพิ่มความแม่นยำในการศึกษาโดยการเพิ่มขนาด

ตัวอย่างให้มีจำนวนที่เพียงพอ และการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อประโยชน์ต่อการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการ

ของเด็กให้มีประสิทธิภาพ ต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-02-22