ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การ ของบุคลากรคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

ผู้แต่ง

  • ดรุณี ชมศรี
  • พรชัย จูลเมตต์
  • นรินทร์ กระจายกลาง

คำสำคัญ:

ความผูกพันต่อองค์การ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การ และศึกษาปัจจัยที่

มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การ ของบุคลากรคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่าง

ได้แก่ อาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ที่ได้มาด้วยวิธีการสุ่ม

อย่างง่าย จำนวน 117 คน โดยการใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความผูกพันต่อองค์การ แบบสอบถามเกี่ยวกับลักษณะ

งาน แบบสอบถามเกี่ยวกับลักษณะขององค์การ แบบสอบถามเกี่ยวกับประสบการณ์ในการทำงาน ที่มีค่าความ

เชื่อมั่นเท่ากับ .93, .95, .95 และ .93 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปโดยการแจกแจง

ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติไคร์สแควร์ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 72.6 มีความผูกพันต่อองค์การในระดับมาก (M=65.17, SD=6.99)

ลักษณะงาน ลักษณะองค์การ และประสบการณ์ในการทำงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับความ

ผูกพันต่อองค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r=.715, .689 และ .759) ตามลำดับ ส่วนอายุ เพศ

ระยะเวลาการทำงาน รายได้ต่อเดือน ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส และประเภทของสายงานไม่มีความ

สัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การ

ผู้บริหารคณะพยาบาลศาสตร์ ควรส่งเสริมความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร โดยการให้ความ

สำคัญ กับการพัฒนางานให้มีขั้นตอนและเป็นระบบ และพัฒนางานที่ช่วยส่งเสริมความก้าวหน้าของผู้ปฏิบัติงาน

การจัดองค์การให้มีลักษณะของการกระจายอำนาจ การเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การมอบหมาย

งานที่ตรงกับความรู้ความสามารถของบุคลากรและการทำให้ผู้ปฏิบัติงานรู้สึกว่าตนเองเป็นทรัพยากรที่มี

คุณค่า 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-02-22