ผลของโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ต่อความรู้และพฤติกรรมการใช้ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ในเกษตรกรผู้ปลูกแตงโม ตำบลหนองพลับ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • ไพโรจน์ โรจนเบญจกุล

คำสำคัญ:

โปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม, การใช้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ และพฤติกรรมการใช้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่

สเตียรอยด์ของเกษตรกรผู้ปลูกแตงโม ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่าง

ได้แก่ เกษตรกรผู้ปลูกแตงโม ตำบลหนองพลับ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 30 ราย โดยการสุ่ม

อย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมแบบสอบถามความรู้และ

พฤติกรรมการใช้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์แบบสอบถามได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจาก

ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน มีค่าความเชื่อมั่น KR-20 เท่ากับ .70 และมีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของ

ครอนบาคเท่ากับ .82 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติ Paired t –test ผลการวิจัยพบว่า

หลังการเข้าร่วมโปรแกรม เกษตรกรผู้ปลูกแตงโมมีความรู้เรื่องการใช้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์

(M=16.46, SD=2.22) สูงกว่าก่อนเข้าโปรแกรม (M=10.56, SD=16.46) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=13.04,

p<.001) และหลังการเข้าร่วมโปรแกรม เกษตรกรผู้ปลูกแตงโมมีพฤติกรรมการใช้ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่

สเตียรอยด์ (M=42.93, SD=3.75) สูงกว่าก่อนเข้าโปรแกรม (M=36.67, SD=6.02) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

(t=6.26, p<.001)

ข้อเสนอแนะ โปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมสามารถเพิ่มความรู้ในการใช้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช้

สเตียรอยด์ สามารถขยายผลไปใช้กับผู้สูงอายุที่ใช้ยาสเตียรอยด์ได้ และเป็นแนวทางในการจัดทำโปรแกรม

หรือกิจกรรมการสอนให้มีความสอดคล้องกับบริบทพื้นที่อื่น ๆ ได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-02-22