ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นตอนต้น จังหวัดตรัง
คำสำคัญ:
ปัจจัย, พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ, วัยรุ่นตอนต้นบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ
ของวัยรุ่นตอนต้น จังหวัดตรัง กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ในโรงเรียน
ประจำอำเภอในจังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2558 จำนวน 390 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นโดยใช้สัดส่วนที่
เท่ากัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับเรื่องเพศของวัยรุ่นตอนต้น 2) แบบสอบถาม
การเห็นคุณค่าในตนเองของวัยรุ่นตอนต้น 3) แบบสอบถามพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นตอนต้น เครื่องมือ
ทั้งหมดผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 คน มีค่า CVI โดยรวมเท่ากับ .87
โดยแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นจากการคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ .72, .75,
และ .85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์เพียร์สัน และไคสแควร์ ผลการ
วิจัยพบว่า
พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นตอนต้นอยู่ในระดับปานกลาง (M=2.33, SD=0.31) ความรู้เกี่ยวกับ
เรื่องเพศในวัยรุ่นตอนต้นอยู่ในระดับปานกลาง (M=2.84, SD=0.97) และการเห็นคุณค่าในตนเองของวัยรุ่น
ตอนต้นอยู่ในระดับปานกลาง (M=3.62, SD=0.59) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ
ประกอบด้วย เพศ ระดับการศึกษาและการมีเพื่อนสนิทต่างเพศ (χ2 =1.477, 4.246, 0.092) ความรู้เกี่ยวกับ
เรื่องเพศและการเห็นคุณค่าในตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำกับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่น
ตอนต้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.286 และ .425 ตามลำดับ)
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้