การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม: กระบวนการพัฒนาการสร้างเสริมสุขภาพชุมชนอย่างมีส่วนร่วม
คำสำคัญ:
กระบวนการพัฒนา, การสร้างเสริมสุขภาพ, การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมบทคัดย่อ
การปฏิรูประบบสุขภาพเน้นการรวมพลังหลากหลายภาคส่วนในการขับเคลื่อนให้สังคมไทยเป็น
สังคม สุขภาวะ มุ่งเน้นพัฒนาการสร้างโอกาส ระบบ และกลไกให้ประชาชน กลุ่มคน องค์กร และหน่วยงานที่
เกี่ยวข้องมีช่องทางการเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาวะตนเอง ชุมชน และสังคมให้ประสบความ
สำเร็จ การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) นี้มีวัตถุประสงค์ในการอธิบายตัวแบบเชิงกระบวนการ
พัฒนาการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชนอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน และวิเคราะห์ผลลัพธ์ของกระบวนการ ของ
ตำบลแห่งหนึ่ง ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นชุมชนพหุวัฒนธรรมที่กำลังเผชิญกับสังคม
ผู้สูงอายุ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น การเฝ้าระวังสุขภาพวัยทำงาน และการป้องกัน และดูแลโรคเรื้อรัง กระบวนการ
PAR ประกอบด้วย 1) ระยะวางแผนและพัฒนานโยบายการสร้างเสริมสุขภาพชุมชน 2) ระยะดำเนินการ 3) ระยะ
กำกับติดตามกระบวนการพัฒนาการสร้างเสริมสุขภาพ และ 4) ระยะประเมินผล โดยมีการดำเนินการภายใต้
3 โครงการ ผลการถอดบทเรียน พบว่า
กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ชุมชนเป็นฐานในการแก้ปัญหา เป็นการนำ
ทรัพยากรจากชุมชนมาพัฒนาศักยภาพชุมชน ให้สามารถคิด วิเคราะห์ วางแผน ดำเนินการ และติดตาม
ประเมินผลในการแก้ปัญหาของชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรม งานวิจัยนี้จึงเสนอแนะให้บุคลากรสาธารณสุข นำ
ต้นแบบเชิงกระบวนการที่ได้จากการพัฒนาครั้งนี้ไปใช้ในการพัฒนาภาวะสุขภาพในมิติอื่น ๆ รวมถึงควรมีการ
ดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพชุมชนอย่างมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง และขยายไปยังชุมชนอื่น ๆ ต่อไป
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้