ผลของโปรแกรมสนับสนุนการเรียนรู้ด้านโภชนาการต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและ ระดับความดันโลหิตในสมาชิกชมรมผู้สูงอายุที่ควบคุมภาวะความดันโลหิตสูงไม่ได้

ผู้แต่ง

  • ทิพย์สุคนธ์ กิจรุ่งโรจน์
  • พัชรี คมจักรพันธ์
  • แสงอรุณ อิสระมาลัย

คำสำคัญ:

การเรียนรู้เชิงประสบการณ์, อาหารต้านความดันสูตรแดช, กระบวนการกลุ่ม, พฤติกรรมการบริโภคอาหาร, การควบคุมระดับความดันโลหิต

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดหลายครั้งแบบอนุกรมเวลา มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของ

โปรแกรมสนับสนุนการเรียนรู้ด้านโภชนาการ กลุ่มตัวอย่างเป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุที่ควบคุมภาวะความดัน

โลหิตสูงไม่ได้ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 36 ราย เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรม

สนับสนุนการเรียนรู้ด้านโภชนาการ 2) แผนการจัดกิจกรรมกลุ่ม 3) แบบบันทึกพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และ

ค่าระดับความดันโลหิต 4) ประเมินระดับความดันโลหิต 5) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และ 6) แบบ

ประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาได้ค่า CVI เท่ากับ

.85 และวิเคราะห์ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหารโรคความดันโลหิตสูงโดยหา

ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ได้เท่ากับ .72 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา สถิติทีคู่ และทดสอบ

ความแปรปรวนแบบทางเดียวแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัย พบว่า

  1. ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการบริโภคอาหารของกลุ่มตัวอย่างภายหลังได้รับโปรแกรมสูงกว่าก่อน

การได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -5.50, p ≤ .001)

  1. ค่าเฉลี่ยระดับความดันโลหิตซิสโตลิกของกลุ่มตัวอย่างภายหลังได้รับโปรแกรมน้อยกว่าก่อนได้รับ

โปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F = 18.87, p ≤ .001) และเมื่อวิเคราะห์ความแตกต่างรายคู่พบว่ามีความ

แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของระดับความดันโลหิตซิสโตลิกในสัปดาห์ที่ 1 กับสัปดาห์ที่ 15 (d = -14.00, p ≤

.001) และสัปดาห์ที่ 8 กับสัปดาห์ที่ 15 (d = -14.72, p ≤ .001)

  1. ค่าเฉลี่ยระดับความดันโลหิตไดแอสโตลิกของกลุ่มตัวอย่างภายหลังได้รับโปรแกรมน้อยกว่าก่อนได้

รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F = 8.82, p ≤ .01) เมื่อวิเคราะห์ความแตกต่างรายคู่ พบว่ามีความ

แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของระดับความดันโลหิตไดแอสโตลิกในสัปดาห์ที่ 1 กับสัปดาห์ที่ 15 (d = -8.22, p ≤

.01) และสัปดาห์ที่ 8 กับสัปดาห์ที่ 15 (d = -6.11, p ≤ .01)

บุคลากรทางสุขภาพสามารถนำโปรแกรมสนับสนุนการเรียนรู้ด้านโภชนาการ ไปใช้ในการปรับพฤติกรรม

การบริโภคอาหารให้เหมาะสม และควบคุมระดับความดันโลหิตในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความ

ดันโลหิตไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ควรมีการศึกษาติดตามระยะยาว เพื่อประเมินความคงอยู่ของพฤติกรรมการบริโภค

อาหารในผู้สูงอายุที่มีความดันโลหิตสูงต่อไป 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-02-22