การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้หลักการบริหารยาเสี่ยงสูงงานห้องคลอด สำหรับนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา

ผู้แต่ง

  • นวรัตน์ ไวชมภู
  • โศรยา นิฮะ
  • พิมพ์ณัฐชา สุไลมาน
  • ภาซีน่า บุญลาภ

คำสำคัญ:

รูปแบบการเรียนรู้, การบริหารยาเสี่ยงสูง, งานห้องคลอด

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารยาเสี่ยงสูงงานห้องคลอด ของนักศึกษา

พยาบาล 2) พัฒนารูปแบบการเรียนรู้หลักการบริหารยาเสี่ยงสูงงานห้องคลอด สำหรับนักศึกษาพยาบาล

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา 3) เพื่อศึกษาประสิทธิผลรูปแบบการเรียนรู้หลักการบริหารยาเสี่ยงสูง

งานห้องคลอด 4) เพื่อประเมินประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนรู้หลักการบริหารยาเสี่ยงสูงงานห้องคลอด ระเบียบ

วิธีวิจัย ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาการบริหารยาเสี่ยงสูงงานห้องคลอดของนักศึกษา

พยาบาล กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาล จำนวน 59 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม หาค่าความเที่ยง

โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .94 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน

มาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการเรียนรู้หลักการบริหารยาเสี่ยงสูงงานห้องคลอด ตรวจสอบความ

ครอบคลุมด้านเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาประสิทธิผลรูปแบบการเรียนรู้หลักการ

บริหารยาเสี่ยงสูงงานห้องคลอด กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาลที่ฝึกปฏิบัติงานห้องคลอด โรงพยาบาลยะลา

จำนวน 16 คน โดยการสุ่มแบบง่ายไม่ใส่คืนที่ วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยค่าร้อยละก่อนและหลังใช้รูปแบบ ขั้นตอนที่

4 ประเมินประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนรู้หลักการบริหารยาเสี่ยงสูงงานห้องคลอด กลุ่มตัวอย่าง คือ อาจารย์

นิเทศภาคปฏิบัติ สุ่มแบบเฉพาะเจาะจง ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามหาค่า

ความตรงของเนื้อหา ได้ค่า CVI เท่ากับ .86 และหาค่าความเที่ยงโดยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค

เท่ากับ .94 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า

  1. ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติการพยาบาลการบริหารยาเสี่ยงสูง ของกลุ่มตัวอย่าง ภาพรวม อยู่ใน

ระดับมาก (μ=3.70, σ=0.83)

  1. รูปแบบการเรียนรู้หลักการบริหารยาเสี่ยงสูงงานห้องคลอด สำหรับนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาล

บรมราชชนนี ยะลา (Before-Action-Review: BAR) ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 Before (ก่อนขึ้น

ฝึกปฏิบัติ) ขั้นตอนที่ 2 Action (ขณะฝึกปฏิบัติ) และ ขั้นตอนที่ 3 Review (หลังฝึกปฏิบัติ)

  1. ผลการนำรูปแบบการเรียนรู้การบริหารยาเสี่ยงสูงงานห้องคลอดมาใช้ พบว่า หลังใช้รูปแบบ ไม่พบ

อัตราอุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนทางยาเสี่ยงสูงงานห้องคลอดที่เกิดจากนักศึกษาพยาบาลฝึกปฏิบัติงาน

  1. ผลการศึกษาประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนรู้การบริหารยาเสี่ยงสูงงานห้องคลอด พบว่า ภาพรวม

อยู่ในระดับมาก (μ=3.85, σ=0.44)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-02-22