ผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายร่วมกับให้ครอบครัวมีส่วนร่วม ในการดูแลผู้ป่วยเจาะคอ ต่อความรู้ความสามารถของผู้ดูแลผู้ป่วยเจาะคอ และความพึงพอใจของผู้ดูแลในหอผู้ป่วย ตา หู คอ จมูก โรงพยาบาลสงขลา

ผู้แต่ง

  • กิ่งกาญจน์ ชุ่มจำรัส
  • เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยเจาะคอ, ความรู้ความสามารถผู้ดูแล, โปรแกรมการวางแผนจำหน่ายการมีส่วนร่วมของครอบครัว

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายร่วมกับให้

ครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยเจาะคอ ต่อความรู้ความสามารถของผู้ดูแลผู้ป่วยเจาะคอ และความพึงพอใจ

ของผู้ดูแลในหอผู้ป่วย ตา หู คอ จมูก โรงพยาบาลสงขลา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยเจาะคอจำนวน 61 ราย

โดยเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็น แบบวัดความรู้ความสามารถในการดูแลผู้ป่วยเจาะคอ และ

แบบประเมินความพึงพอใจ ตรวจสอบคุณภาพความตรงของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน ได้ค่าดัชนีความ

ตรงเนื้อหาเท่ากับ 1.00 ได้ค่า KR20 เท่ากับ .90 และแบบประเมินความพึงพอใจ ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา

ของครอนบาค เท่ากับ .83 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา แจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย

ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Paired t-test ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผู้ดูแลผู้ป่วยเจาะคอหลังเข้าโปรแกรมการวางแผนจำหน่าย มีความรู้ความสามารถมากกว่าก่อน

เข้าโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01

  1. ผู้ดูแลผู้ป่วยเจาะคอหลังเข้าโปรแกรมการสอนอย่างมีแบบแผน มีความพึงพอใจมากกว่าก่อน

เข้าโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-02-21