แนวทางการป้องกัน และลด ละ เลิกบุหรี่ของเยาวชน จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • บุญชัย พิริยกิจกำจร
  • นิรชร ชูติพัฒนะ

คำสำคัญ:

เยาวชน, ลด ละ เลิกบุหรี่, การป้องกัน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนนโยบาย แนวทางการป้องกัน

ลด ละ เลิกบุหรี่ในเยาวชน และปัจจัยที่ทำให้คลินิกเลิกบุหรี่มีคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหาร เยาวชน และ

เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานคลินิกบุหรี่ จำนวน 48 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบบันทึกภาคสนาม เครื่องบันทึก

เสียง แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยนำข้อมูลที่ได้มาจำแนกและจัดหมวดหมู่ให้เป็นระบบ

ผลการวิจัยพบว่า

  1. แนวทางการขับเคลื่อนนโยบาย ลด ละ เลิกบุหรี่ในเยาวชน ได้แก่ การมีนโยบายด้านสิ่งจูงใจ กฎหมาย

ข้อมูล ความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ความร่วมมือภายในองค์กร การให้ความรู้เรื่องพิษภัยบุหรี่

กับทุก ๆ กลุ่มที่เกี่ยวข้อง การสนับสนุนด้านงบประมาณและเวชภัณฑ์ และด้านการสื่อสาร

  1. แนวทางการป้องกันลด ละ เลิกบุหรี่ในเยาวชน ต้องอาศัยหลักการมีส่วนร่วมจากกลุ่มบุคคลต่าง ๆ

เพื่อช่วยให้วัยรุ่นที่ยังไม่สูบบุหรี่ ไม่ให้กลายเป็นบุคคลที่สูบบุหรี่ในอนาคต ได้แก่ กลุ่มบุคคลที่เป็นประชาชน

ทุกคน คนใกล้ชิด บิดามารดา ครู โรงเรียน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

  1. ปัจจัยที่ทำให้คลินิกเลิกบุหรี่มีคุณภาพ ได้แก่ การป้องกันประชาชนในชุมชนไม่ให้สูบบุหรี่ การ

ประชาสัมพันธ์ในชุมชน ชักจูงให้คนเลิกบุหรี่ และจัดตั้งคลินิกเลิกบุหรี่

ดังนั้น ควรนำผลการศึกษาไปแปลงเป็นยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ จัดกระบวนการการมีส่วนร่วมกับ

กลุ่มที่เกี่ยวข้อง และจัดกิจกรรมตามปัจจัยที่ทำให้คลินิกเลิกบุหรี่มีคุณภาพทั้งในโรงพยาบาลและชุมชน

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-02-21