การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง เทศบาลนครรังสิต จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • ขวัญเรือน ชัยนันท์
  • สุรีย์ จันทรโมลี
  • ประภาเพ็ญ สุวรรณ
  • มยุนา ศรีสุภนันต์

คำสำคัญ:

รูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปาก, ผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง, การมีส่วนร่วม, ภาคีเครือข่ายสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้ ประยุกต์ใช้ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ (Health Belief Model)

และทฤษฏีการรับรู้ความสามารถของตน (Self-Efficacy Theory) มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบและ

ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย

ของเทศบาลนครรังสิต จังหวัดปทุมธานี การดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์

สถานการณ์สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แนวคำถามสนทนากลุ่มและแนวคำถาม

สัมภาษณ์เชิงลึก ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง ระยะที่ 3 ทดลองรูปแบบ

โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้จำนวน 118 คน แบ่งเป็น กลุ่มทดลอง จำนวน 58 คนจากชมรมผู้สูงอายุสร้างบุญ และ

กลุ่มเปรียบเทียบจำนวน 60 คน จากชมรมผู้สูงอายุศูนย์การค้ารังสิต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติ Paired

sample t-test, Independent t-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ (p< 0.05) ผลการวิจัยพบว่า

  1. รูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในเทศบาล

นครรังสิต จังหวัดปทุมธานี ประกอบด้วย การอบรมให้ความรู้ภาคีเครือข่ายสุขภาพ และอบรมให้ความรู้การดูแล

สุขภาพช่องปาก และฝึกปฏิบัติ ผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง 5 ฐานกิจกรรม

  1. ผู้สูงอายุโรคเรื้อรังกลุ่มทดลองหลังเข้าร่วมโครงการมีการเปลี่ยนแปลง ผลการตรวจคราบจุลินทรีย์

โดยการย้อมสีคราบจุลินทรีย์ มีคะแนนเฉลี่ยหลังการทดลอง ลดลงกว่าก่อนการทดลอง และลดลงกว่ากลุ่ม

เปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) พฤติกรรมการเลือกบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพช่องปาก ความรู้

เรื่องโรคในช่องปาก ความรู้เรื่องโรคเรื้อรัง การรับรู้ภาวะคุกคามของโรค การดูแลสุขภาพช่องปาก และการรับรู้

ความสามารถตนเองในการดูแลสุขภาพช่องปาก ดีกว่าก่อนการทดลอง และดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัย

สำคัญทางสถิติ (p< 0.05)

รูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุโรคเรื้อรังสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ

ช่องปากได้ดีขึ้น ลดคราบจุลินทรีย์ และมีพฤติกรรมการเลือกบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพช่องปาก ความรู้เรื่อง

สุขภาพช่องปาก และการรับรู้ความสามารถตนเองในการดูแลสุขภาพช่องปากดีขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-02-21