ผลการจัดการเรียนการสอนแบบสัมมนาต่อการเรียนรู้ การรักษาโรคเบื้องต้น กลุ่มอาการหายใจเหนื่อยหอบของนักศึกษาพยาบาล
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนการสอนแบบสัมมนา, การเรียนรู้เรื่องการรักษาโรคเบื้องต้น, นักศึกษาพยาบาลบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงผสมผสานนี้ เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนการสอนแบบสัมมนาต่อการเรียนรู้การรักษาโรค
เบื้องต้น กลุ่มอาการหายใจเหนื่อยหอบของนักศึกษาพยาบาล ตอนที่ 1 เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ประชากรที่
ศึกษาเป็นนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 148 คน เก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้ 1) แบบ
ทดสอบวัดผลการเรียนรู้การรักษาโรคเบื้องต้นกลุ่มอาการหายใจเหนื่อยหอบ หาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตร KR-20
ได้เท่ากับ 0.75 2) แบบสอบถามความคิดเห็นต่อการเรียนการสอนแบบสัมมนา หาค่าความเชื่อมั่นได้ค่า
สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ
การทดสอบค่าที ตอนที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2559
จำนวน 20 คน เก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้ประเด็นการสนทนากลุ่มเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบสัมมนา
ตรวจความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
- คะแนนเฉลี่ยผลการเรียนรู้การรักษาโรคเบื้องต้นกลุ่มอาการหายใจเหนื่อยหอบโดยการเรียนการสอน
แบบสัมมนาหลังเรียน (μ=10.83, σ=2.15) สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน (μ=7.78, σ=2.46) อย่างมีนัย
สำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
- ระดับความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนแบบสัมมนาโดยรวมอยู่ในระดับมาก (μ=4.47,
σ=0.34) พิจารณารายด้านพบว่า ด้านประโยชน์ที่ได้รับอยู่ในระดับมากที่สุด (μ=4.50, σ=0.43) ส่วนด้าน
กิจกรรมการสอนและด้านบรรยากาศการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก (μ=4.48, σ=0.37 และ μ=4.42,
σ=0.48 ตามลำดับ) นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่า การจัดการเรียนการสอนแบบสัมมนาทำให้
นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียน เข้าใจเนื้อหาดีขึ้น ส่งเสริมกระบวนการคิดเชิงระบบและการคิดวิเคราะห์
ส่งเสริมทักษะการรักษาโรคเบื้องต้น ส่งเสริมทักษะในการบริหารจัดการและการทำงานเป็นทีม
การจัดการเรียนการสอนแบบสัมมนา เป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้นทั้งในระดับรู้-จำ
เข้าใจ และการนำไปใช้ กิจกรรมการสอนน่าสนใจ สนุกสนาน และนำไปใช้ประโยชน์ได้
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้