ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่บูรณาการสมรรถนะแห่งตนในการเลิกบุหรี่ ต่อพฤติกรรมและสมรรถนะแห่งตนในการเลิกบุหรี่ของผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง

ผู้แต่ง

  • คอลิด ครุนันท์
  • จารุวรรรณ มานะสุรการ
  • เพลินพิศ ฐานิวัฒนานนท์

คำสำคัญ:

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, การเลิกบุหรี่, สมรรถนะแห่งตน

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ที่บูรณาการ

สมรรถนะแห่งตน ในการเลิกบุหรี่ต่อพฤติกรรมและสมรรถนะแห่งตนในการเลิกบุหรี่ ของผู้ป่วยปอดอุดกั้น

เรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่มารับการรักษา ณ คลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอผู้ป่วย

อายุรกรรมชายและหญิง โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในภาคใต้ ระหว่าง เดือนเมษายน ถึง มิถุนายน 2559 แบ่งเป็น

กลุ่มควบคุมและทดลอง กลุ่มละ 30 คน กลุ่มควบคุมได้รับการเลิกบุหรี่แบบปกติ และกลุ่มทดลองได้รับ

โปรแกรมการเลิกบุหรี่ มี 5 ขั้นตอน คือ 1) การประเมินความพร้อมในการเลิกบุหรี่ 2) การถามประวัติการ

เลิกบุหรี่ 3) แนะนำการเลิกบุหรี่ 4) การช่วยเหลือให้เลิกบุหรี่ที่บูรณาการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตน และ

5) การติดตามผลการเลิกบุหรี่ และติดตามผลเป็นเวลา 8 สัปดาห์ ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ มีค่าความ

เชื่อมั่นเท่ากับ .84 และ .93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการ

ทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า

  1. คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมและสมรรถนะแห่งตนในการเลิกบุหรี่ ของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมสูงกว่า

ก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t(29)= -42.35, p<.001 และ t(29)= -35.43, p<.001 ตามลำดับ)

  1. คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมและสมรรถนะแห่งตนในการเลิกบุหรี่ ของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมสูงกว่ากลุ่มที่

ได้รับการเลิกบุหรี่แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t(29)= -3.67, p<.001 และ t(29)= -6.52, p<.001 ตาม

ลำดับ)

ควรมีการศึกษาผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ที่บูรณาการสมรรถนะแห่งตนในการเลิก

บุหรี่ในผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรังต่อตัวแปรอื่น ๆ เช่น ความสำเร็จในการเลิกบุหรี่ ระดับการเสพติดนิโคติน เป็นต้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-02-21