ความรู้และพฤติกรรมในการป้องกันความผิดปกติแต่กำเนิดจากสิ่งแวดล้อมของสตรีตั้งครรภ์

ผู้แต่ง

  • วันเพ็ญ มีชัยชนะ
  • เกสรา ศรีพิชญาการ
  • ยุพิน เพียรมงคล

คำสำคัญ:

สตรีตั้งครรภ์, พฤติกรรม, ความรู้, ความผิดปกติแต่กำเนิดจากสิ่งแวดล้อม

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และพฤติกรรมในการป้องกัน

ความผิดปกติแต่กำเนิด จากสิ่งแวดล้อมของสตรีตั้งครรภ์ จำนวน 194 ราย ฝากครรภ์ในจังหวัดเชียงใหม่ สุ่ม

ตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือประกอบด้วย 1) แบบวัดความรู้เกี่ยวกับความผิดปกติแต่กำเนิดจากสิ่งแวดล้อม

มี 6 ด้าน คือ โรคติดเชื้อ ภาวะทุพโภชนาการ ความเจ็บป่วย ยา สารเสพติด และมลพิษ และ 2) แบบวัด

พฤติกรรมในการป้องกันความผิดปกติแต่กำเนิดจากสิ่งแวดล้อม มี 4 ด้าน คือ การวางแผนล่วงหน้า การหลีกเลี่ยง

สิ่งที่เป็นอันตราย การดำเนินชีวิตให้มีสุขภาพดี และการพูดคุยกับผู้ให้บริการด้านสุขภาพ หาค่าความเชื่อมั่น

แบบวัดความรู้ฯ โดยใช้สูตร KR-20 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .77 และแบบวัดพฤติกรรมฯ โดยใช้วิธีของ ครอนบาค

ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .90 แบบวัดพฤติกรรมฯ ทดสอบซ้ำ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .88 วิเคราะห์ความสัมพันธ์

ใช้สถิติค่าสหสัมพันธ์สเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า

  1. ความรู้เกี่ยวกับความผิดปกติแต่กำเนิดจากสิ่งแวดล้อมของกลุ่มตัวอย่าง อยู่ในระดับสูง (M=25.90,

SD=3.80)

  1. พฤติกรรมในการป้องกันความผิดปกติแต่กำเนิดจากสิ่งแวดล้อมของกลุ่มตัวอย่าง อยู่ในระดับสูง

(M=99.90, SD=13.30)

  1. ความรู้มีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับต่ำกับพฤติกรรมในการป้องกันความผิดปกติแต่กำเนิดจากสิ่ง

แวดล้อม (rS=.19, p<.01)

ดังนั้น สตรีตั้งครรภ์ควรได้รับการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันความผิดปกติแต่กำเนิด เนื่องจาก

คะแนนไม่ถึงระดับสูงมาก โดยเน้นการวางแผนการตั้งครรภ์ ทั้งนี้ควรให้ความรู้แก่สตรีตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นเนื่องจาก

เป็นปัจจัยของพฤติกรรม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-02-21