ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อการควบคุมระดับความดันโลหิต ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลชลประทาน
คำสำคัญ:
ผลของโปรแกรม, ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, โรคความดันโลหิตสูงบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของ โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อควบคุมระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลชลประทาน โดยการประยุกต์ทฤษฎีการจูงใจเพื่อการป้องกันโรค กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคความดัน โลหิตสูงที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่า เป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง มีอายุตั้งแต่ 40 - 65 ปี ทั้งเพศชายและ หญิง จำนวน 98 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 49 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และ เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนการจัดโปรแกรม 1 สัปดาห์ และหลังการจัดโปรแกรม 4 สัปดาห์ แบบสอบถามที่ใช้ในการ เก็บรวบรวมข้อมูล ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง .66 - 1.00 และ ตรวจสอบความเที่ยงของแบบสอบถามโดยการหาสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยง .75, .75, .72, .77 และ .74 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired Sample t-test, Independent t-test และ Chi-Square test ผลการวิจัยพบว่า
1. หลังการจัดโปรแกรม กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนจาก ความดันโลหิตสูง การรับรู้ความรุนแรงของโรคแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูง การรับรู้ผลลัพธ์ของการปฏิบัติ เพื่อควบคุมความดันโลหิต การรับรู้ความสามารถตนเองในการปฏิบัติเพื่อควบคุมความดันโลหิต และพฤติกรรม การควบคุมความดันโลหิต สูงกว่าก่อนการจัดโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01, 0.01, 0.001, 0.001 และ 0.001 ตามลำดับ
2. หลังการจัดโปรแกรม กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนจาก ความดันโลหิตสูง การรับรู้ความรุนแรงของโรคแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูง การรับรู้ผลลัพธ์ของการปฏิบัติ เพื่อควบคุมความดันโลหิต การรับรู้ความสามารถตนเองในการปฏิบัติเพื่อควบคุมความดันโลหิต และพฤติกรรม การควบคุมความดันโลหิต สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001, 0.001, 0.001, 0.05 และ 0.001 ตามลำดับ
3. หลังการจัดโปรแกรมกลุ่มทดลองมีสัดส่วนในการควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001
Downloads
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้