การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วมของชุมชน, พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติแบบการมีส่วนร่วมนี้ เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาพฤติกรรม การสร้างเสริมสุขภาพ และ ศึกษาพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นแกนนำชุมชน ในการดำเนินงาน 43 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง กลุ่มผู้สูงอายุ อายุ 60-80 ปี สมัครใจเข้าร่วมวิจัย จำนวน 50 คน จาก 5 หมู่บ้าน คัดเลือกโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบ สังเกตมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของสถาบันเวชศาสตร์ผู้สูง อายุ แนวคำถามการสนทนากลุ่ม แบบสอบถามการมีส่วนร่วม แบบบันทึกข้อมูลภาคสนาม วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired t – test ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุมชนมีส่วนร่วมในระดับมาก (M=3.77, SD=0.84) กิจกรรมการพัฒนาพฤติกรรมการสร้างเสริม สุขภาพ คือ 1) การให้คำแนะนำด้านการสร้างเสริมสุขภาพ 2) การค้นหาปัจจัยเสี่ยงโดยการตรวจเลือดเพิ่มจาก การได้รับสิทธิปกติ และการตรวจร่างกาย 3) การสร้างความอบอุ่นด้านจิตใจ 4) สุขภาพดีรอบด้าน
2. การเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ หลังการเข้าร่วมโครงการ ดีกว่าก่อน เข้าร่วมโครงการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ข้อเสนอแนะ การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เป็นการดำเนินการวิจัยที่สอดคล้องกับความ ต้องการของกลุ่มเป้าหมาย การพัฒนาคุณลักษณะของแกนนำการทำความเข้าใจพฤติกรรมของบุคคลที่ต้องการ แสดงความสามารถ เป็นตัวอย่างแก่คนอื่น แนะนำผู้อื่นได้ จะทำให้กลุ่มเป้าหมายมีความกระตือรือร้น ที่จะ แสวงหาความรู้ จดจำนำไปใช้ในพื้นที่อื่นได้
Downloads
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้