การบูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ของนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต

ผู้แต่ง

  • รอซีกีน สาเร๊ะ
  • อัฎฮียะห์ มูดอ
  • ขวัญจิต พงศ์รัตนามาน
  • ชญานุช หลวงนะ
  • สลิล กาจกำแหง
  • พิริยา ผาติวิกรัยวงค์
  • ฐิติกา กิมิเส
  • นภัส ลัภนะก่อเกียรติ
  • ปณตา ปรีชาวุฒิเดช

คำสำคัญ:

การบูรณาการ, จัดการเรียนการสอน, การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณานี้ เพื่อศึกษาผลการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาทักษะการใช้ ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร กับการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาโดยการเลือก แบบเจาะจงเป็นนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข รุ่นที่ 3 ชั้นปีที่ 1 จำนวน 26 คน และอาจารย์ในหลักสูตรทันตสาธารณสุข จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบ ด้วย แบบประเมินการแสดงศิลปวัฒนธรรมของนักศึกษาโดยอาจารย์ในหลักสูตรทันตสาธารณสุข และการ เขียนสะท้อนคิดของนักศึกษา โดยผ่านการตรวจสอบความถูกต้องเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญได้ค่า IOC เท่ากับ 0.66 - 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลจากการประเมินการแสดงศิลปวัฒนธรรมของนักศึกษาโดยอาจารย์ในหลักสูตรทันตสาธารณสุข จัดอยู่ในระดับมาก (M=3.78, SD=0.51)

2. ผลจากการเขียนสะท้อนคิดเกี่ยวกับการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับการทำนุบำรุงศิลป วัฒนธรรมของนักศึกษา พบว่า นักศึกษาได้ฝึกการเขียน การเลือกใช้คำสะกดคำที่ถูกต้อง รวมถึงสามารถเลือกใช้ ภาษาถิ่นเพื่อให้สอดรับกับเนื้อเพลงท้องถิ่น สามารถนำเสนอในหลากหลายรูปแบบ เสริมสร้างการเรียนรู้จาก ประสบการณ์จริง รวมถึงได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สืบสานการแสดงศิลปะและวัฒนธรรม มีความเข้าใจเอกลักษณ์ ของวัฒนธรรมท้องถิ่น และรู้สึกหวงแหนอยากอนุรักษ์สืบสานการแสดงศิลปะและวัฒนธรรมสืบไป

ดังนั้น การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการกับการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมในรายวิชา ภาษาไทย เป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมให้นักศึกษามีทักษะ ทั้งทางด้านภาษาควบคู่ไปกับการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ท้องถิ่นอีกด้วย 

Downloads