ตัวแบบของครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • รัถยานภิศ พละศึก
  • เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, ผู้ดูแล, ตัวแบบของครอบครัว

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาความต้องการการดูแลของผู้สูงอายุ บทบาทของ ครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุ และสังเคราะห์ตัวแบบของครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุ ผู้ให้ข้อมูลหลักเลือก แบบเฉพาะเจาะจง โดยใช้เทคนิค Snow Ball ประกอบด้วย ผู้สูงอายุ จำนวน 11 คน ผู้ดูแลหลัก จำนวน 11 คน และผู้ดูแลรอง จำนวน 22 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ เนื้อหา ภายใต้กระบวนการดำเนินการ มี 3 ขั้นตอน คือ 1) ค้นหาความต้องการการดูแลของผู้สูงอายุ 2) ค้นหา บทบาทของครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุ และ 3) สังเคราะห์ตัวแบบการดูแลผู้สูงอายุของครอบครัว ผลการ วิจัยพบว่า

1. ผู้สูงอายุต้องการการดูแลจากสมาชิกในครอบครัว ด้านค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และค่ารักษา พยาบาล การตอบสนองการทำกิจวัตรประจำวัน ได้แก่ การรับประทานอาหาร การรักษาสุขอนามัยส่วน บุคคล การแก้ปัญหาอาการทางกาย การจัดการสิ่งแวดล้อมให้ได้รับความสะดวกสบายและปลอดภัย การไปรับ การรักษาตามนัดหรือเมื่อได้รับการเจ็บป่วยที่ไม่สามารถดูแลตนเองได้ รวมถึงต้องการเพื่อนคุย

2. บทบาทของผู้ดูแลสามารถตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุได้ทุกด้าน

3. ตัวแบบของครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุเป็นกระบวนการเชิงระบบ คือ S-A-M-E-E Model ประกอบด้วย การค้นหาความร่วมมือในการดูแลผู้สูงอายุ (Seeking Cooperation) การประเมินความต้องการ การดูแลของผู้สูงอายุ (Assessment) การจัดการ (Management) การพัฒนาความสามารถในการดูแลผู้สูงอายุ (Enabling) และ การประเมินผลการดูแลผู้สูงอายุ (Evaluation)

ดังนั้น สมาชิกในครอบครัว ชมรมผู้สูงอายุ อาสาสมัครสาธารณสุข บุคลากรสุขภาพ แกนนำชุมชน ควรมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุอย่างบูรณาการ 

Downloads