ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง

ผู้แต่ง

  • พรชัย จูลเมตต์
  • สายใจ พัวพันธ์
  • Pham Van Truong

คำสำคัญ:

ภาวะซึมเศร้า, ผู้ดูแล, ผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพยากรณ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแลผู้สูงอายุโรค หลอดเลือดสมอง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอ ศรีราชา จังหวัดชลบุรี จำนวน 120 ราย ได้มาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินข้อมูลพื้นฐานของผู้ดูแลและผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง แบบวัดการสนับสนุนทางสังคม แบบ ประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน แบบวัดภาวะสุขภาพ แบบวัดสัมพันธภาพ แบบวัดภาระ ในการดูแล และแบบประเมินภาวะซึมเศร้า วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยง เบนมาตรฐาน สถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า

ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง การสนับสนุนทางสังคม และภาวะสุขภาพของผู้ดูแลมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำกับภาวะซึมเศร้า (r=-.131, p<.05, r=-.419, p<.01, r=-.224, p<.05 ตามลำดับ) ส่วนภาระในการดูแลมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำ(r=.129, p<.05) กับภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง เมื่อวิเคราะห์โดยสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่า การสนับสนุนทางสังคม การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ภาระในการดูแลและภาวะสุขภาพของผู้ดูแล ร่วมกันทำนายภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองได้ร้อยละ 40.8

ผลจากการศึกษาเสนอแนะว่า พยาบาลควรมีการจัดการกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าของ ผู้ดูแล โดยการส่งเสริมให้ผู้ดูแลได้รับการสนับสนุนทางสังคม การเพิ่มความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน ของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง และส่งเสริมภาวะสุขภาพของผู้ดูแล และควรหาวิธีการลดภาระในการดูแล ของผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง 

Downloads