รูปแบบการพัฒนาการปฏิบัติการฉุกเฉินของพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ จังหวัดชายแดนภาคใต้
คำสำคัญ:
รูปแบบการพัฒนา, , การปฏิบัติการฉุกเฉิน, พนักงานฉุกเฉินการแพทย์, จังหวัดชายแดนภาคใต้บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการปฏิบัติการฉุกเฉิน ของพนักงานฉุกเฉิน การแพทย์ จังหวัดชายแดนภาคใต้ กระบวนการศึกษาวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ และความต้องการรูปแบบการปฏิบัติการฉุกเฉิน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ แพทย์ แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน พยาบาล วิชาชีพ พยาบาลเวชปฏิบัติฉุกเฉิน นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ เจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ พนักงาน ฉุกเฉินการแพทย์ และอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ จำนวน 92 คน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเก็บข้อมูล โดยการสัมภาษณ์เจาะลึกจากกลุ่มเป้าหมายที่เลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 16 คน ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการปฏิบัติการฉุกเฉินของพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ โดยการพัฒนารูปแบบฯ ระยะที่ 1 ระยะที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการปฏิบัติการฉุกเฉินที่พัฒนาขึ้น ระยะที่ 4 การประเมินความพึงพอใจ และความเป็นไปได้ ต่อรูปแบบการปฏิบัติการฉุกเฉิน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ พนักงานฉุกเฉินการแพทย์ 30 คน ผู้ร่วมงานได้แก่ แพทย์ แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน พยาบาลวิชาชีพ พยาบาลเวชปฏิบัติฉุกเฉิน นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ เจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ และอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ จำนวน 30 คน ผลการวิจัยพบว่า
1. สถานการณ์และความต้องการรูปแบบการปฏิบัติการฉุกเฉิน ของพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ จังหวัด ชายแดนภาคใต้ ของสมรรถนะตามขอบเขตความรับผิดชอบ และข้อจำกัดของพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ โดยรวม อยู่ในระดับมาก (M=3.89, SD=0.37)
2. รูปแบบการพัฒนาการปฏิบัติการฉุกเฉินของพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ รูปแบบ 5I ประกอบด้วย 1) Information 2) Integration 3) Innovation 4) Immediate และ 5) Impress
3. การประเมินผลของรูปแบบ พบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดกิจกรรม เพื่อพัฒนารูปแบบ การปฏิบัติการฉุกเฉินของพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (M=4.79, SD=0.39) ผลการปฏิบัติการฉุกเฉินของพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ พบว่า ระยะเวลาการรับแจ้งเหตุ จนถึงระยะเวลาออกปฏิบัติการฉุกเฉิน จำนวน 56 ครั้ง ระยะเวลาภายใน 2 นาที ผลการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ด้าน การดูแลทางเดินหายใจทำและเหมาะสม 48 ราย ด้านการห้ามเลือดทำและเหมาะสม 23 ราย ด้านการดาม ทำและเหมาะสม 24 ราย ส่วนความพึงพอใจต่อกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (M=4.82, SD=0.37)
Downloads
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้