ประสบการณ์การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลตนเอง ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
คำสำคัญ:
การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น, ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง, สามจังหวัดชายแดนภาคใต้บทคัดย่อ
การวิจัยคุณภาพเชิงปรากฏการณ์วิทยาแบบเฮอร์เมนิวติกซ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายและอภิปราย ความหมายต่อประสบการณ์การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลตนเอง ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในสาม จังหวัดชายแดนภาคใต้ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จากผู้ป่วยที่มีประวัติความดันโลหิตสูงและมี ประสบการณ์การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลตนเอง จำนวน 12 ราย เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์ แบบเจาะลึกรายบุคคล วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้วิธีการของแวน มาเนน สร้างความน่าเชื่อถือของงานวิจัยโดย ใช้เกณฑ์ของลินคอล์นและกูบา ประกอบด้วยการเขียนบันทึกสะท้อนคิด การตรวจสอบข้อมูลกับผู้ให้ข้อมูล และการตรวจสอบผลการวิเคราะห์ข้อมูลระหว่างทีมวิจัย ระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2559 ผลการวิจัยพบว่า
ผู้ให้ข้อมูลให้ความหมายต่อประสบการณ์การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลตนเอง ของผู้ป่วยโรค ความดันโลหิตสูง ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ใน 2 ลักษณะ คือ 1) การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตโดยใช้ภูมิปัญญา ท้องถิ่น และ 2) ปฏิบัติกิจกรรมตามศาสนาเพื่อควบคุมความดันโลหิตสูง
ผลการศึกษาสามารถให้องค์ความรู้ที่สำคัญที่เป็นแนวทางในการพยาบาลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้สอดคล้องกับความต้องการและความเชื่อ ตลอดจนสามารถนำมาใช้พัฒนา การพยาบาลแบบองค์รวม สอดคล้องกับบริบท ประเพณี วัฒนธรรมต่อไป
Downloads
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้