การประเมินผลการดำเนินโครงการกระเป๋ายาสมุนไพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี
คำสำคัญ:
การประเมินผล, โครงการกระเป๋ายาสมุนไพรบทคัดย่อ
งานวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินผลการดำเนินงานโครงการกระเป๋ายาสมุนไพร ด้านประสิทธิภาพและความยั่งยืน 2) สรุปบทเรียนการดำเนินงานโครงการกระเป๋ายาสมุนไพร 3) เพื่อศึกษา ความคิดเห็นของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ประจำหมู่บ้านเกี่ยวกับโครงการกระเป๋ายา สมุนไพร และ 4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับโครงการกระเป๋ายาสมุนไพร กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย 1) เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล ที่ดำเนินการโครงการกระเป๋ายา สมุนไพร จำนวน 12 คน 2) อสม. ที่รับผิดชอบกระเป๋ายาสมุนไพร และ 3) ประชาชนในหมู่บ้านที่ใช้บริการ กระเป๋ายาสมุนไพร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสนทนากลุ่ม และแบบสอบถามความคิดเห็น หาคุ ณภาพของเครื่องมือด้วยค่าความตรงเชิงเนื้อหา ค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ในช่วง .60 -1.00 และหา ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคแบบสอบถามความคิดเห็นได้เท่ากับ .87 และ .89 สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
1. การประเมินผลการดำเนินงานโครงการกระเป๋ายาสมุนไพรด้านประสิทธิภาพและความยั่งยืน พบว่า มีการประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) กับอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) เป็นอย่างดี ในการดำเนินการโครงการฯ ครั้งแรกได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดสุราษฎร์ธานี ต่อมามีการดำเนินการด้วยการจัดตั้งกองทุนสำหรับการบริหารจัดการ มีการกำหนด เป้าหมายของพื้นที่ที่ดำเนินงานที่ชัดเจน ทำให้เกิดความสำเร็จของการดำเนินงาน บางพื้นที่ยังคงมีการดำเนิน การต่อจนถึงปี พ.ศ. 2555 ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ต้องการให้มีการดำเนินการโครงการฯ ต่อเพราะประชาชนมี ความต้องการเพิ่มมากขึ้น
2. จากการสรุปบทเรียนการดำเนินงานโครงการกระเป๋ายาสมุนไพร พบว่า การกระจายให้ อสม. ดำเนินการรับผิดชอบมีความเหมาะสม มีการสร้างเครือข่าย อสม.เพื่อส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพร ควรมีการ ดำเนินงานต่อเนื่อง ปัญหาที่สำคัญคือ การจัดสรรยาสมุนไพรมาให้ครั้งละจำนวนมาก ทำให้ยาหมดอายุ ไม่ สามารถนำมาใช้ได้
3. ความคิดเห็นของ อสม. เกี่ยวกับการดำเนินโครงการกระเป๋ายาสมุนไพรในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก (M=4.09, SD=0.49)
4. ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการดำเนินโครงการกระเป๋ายาสมุนไพรในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก (M=4.31, SD=0.41)
Downloads
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้