สมรรถนะทางวัฒนธรรมของพยาบาลวิชาชีพแผนกสูติกรรม ในโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์
คำสำคัญ:
สมรรถนะทางวัฒนธรรม, พยาบาลวิชาชีพแผนกสูติกรรมบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะทางวัฒนธรรมของพยาบาลวิชาชีพแผนก สูติกรรม ในโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ และเปรียบเทียบสมรรถนะทางวัฒนธรรม จำแนกตามศาสนา ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และประสบการณ์อบรมเกี่ยวกับความหลากหลายทางวัฒนธรรม ศึกษาจาก ประชากรทั้งหมด คือ พยาบาลวิชาชีพแผนกสูติกรรม ในโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ จำนวน 74 คน เครื่องมือในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม 2 ส่วน คือแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบประเมินเกี่ยวกับ สมรรถนะทางวัฒนธรรมทางการพยาบาล มี 5 ด้าน ทดสอบความเชื่อมั่นแบบประเมินด้านความรู้เกี่ยวกับ วัฒนธรรม โดยหาค่าคูเดอร์ ริชาร์ดสัน 20 ได้เท่ากับ .81 ส่วนแบบประเมินสมรรถนะทางวัฒนธรรมเฉพาะ 4 ด้าน ใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ได้ค่า .88 วิเคราะห์ข้อมูล โดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
1. สมรรถนะทางวัฒนธรรมของพยาบาลวิชาชีพ ในแผนกสูติกรรม โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M=71.53, SD=5.87)
2. พยาบาลวิชาชีพแผนกสูติกรรม ในโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ ที่นับถือศาสนาพุทธ (M=71.64, SD=6.07) มีสมรรถนะทางวัฒนธรรมในภาพรวมสูงกว่าพยาบาลวิชาชีพที่นับถือศาสนาอิสลาม (M=71.46, SD=5.81) เล็กน้อย
3. พยาบาลวิชาชีพแผนกสูติกรรม ในโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ ที่มีระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 5-7 ปี (M=72.87, SD=6.48) มีสมรรถนะทางวัฒนธรรมโดยรวมสูงกว่าพยาบาลวิชาชีพที่มีระยะเวลาปฏิบัติ อื่น ๆ
4. พยาบาลวิชาชีพแผนกสูติกรรม ในโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ ที่มีประสบการณ์อบรม เกี่ยวกับความหลากหลายทางวัฒนธรรม (M=72.68, SD=4.07) มีสมรรถนะทางวัฒนธรรมโดยรวมสูงกว่า พยาบาลวิชาชีพที่ไม่มีประสบการณ์อบรมเกี่ยวกับความหลากหลายทางวัฒนธรรม (M=72.68, SD=4.07)
ผลที่ได้จากการวิจัยจะสามารถนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมผู้ให้บริการ มีสมรรถนะทางวัฒนธรรมในการปฏิบัติพยาบาล ที่สอดคล้องกับบริบททางวัฒนธรรมของผู้ใช้บริการแผนก สูติกรรมต่อไป
Downloads
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้