ผลของการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมของนักศึกษาพยาบาล
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, การส่งเสริมสุขภาพบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้ เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม ของนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2558 วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ จำนวน 124 คน โดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ผ่านการตรวจสอบคุณภาพอยู่ในระดับดี จากเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน (คู่ขนานกัน) ฉบับละ 20 ข้อ หาความเชื่อมั่น โดยใช้สูตร Kuder-Richardson ได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .70 และแบบประเมินความพึงพอใจ ได้ค่าสัมประสิทธิ แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .88 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบ Paired t-test ผลการวิจัยพบว่า
1. นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมหลังจากได้รับการเรียนรู้ แบบบูรณาการ (M=10.12, SD=2.09) สูงกว่าก่อนเรียน (M=15.52, SD=1.80) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.001
2. นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (M=4.29, SD=0.45)
อาจารย์ผู้สอนควรจัดให้นักศึกษาพยาบาลได้เรียนรู้โดยการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในชุมชนเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้นักศึกษาพยาบาลเกิดความมั่นใจในการปฏิบัติ การส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในชุมชน
Downloads
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้