ผลการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการเฝ้าคลอดและการฝากครรภ์คุณภาพต่อการคลอดก่อนกำหนด ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่
บทคัดย่อ
การคลอดก่อนกำหนดเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญเพราะเป็นสาเหตุหนึ่งของการตายของทารกและทารกน้ำแรกคลอดน้ำหนักน้อย การคลอดก่อนกำหนดพบได้ประมาณร้อยละ 10 ของการตั้งครรภ์จากสถิติการคลอดก่อนกำหนดของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ ปี 2557 ถึง 2559 มีการคลอดก่อนกำหนดคิดเป็น ร้อยละ 8.15,8.34 และ 9.04ตามลำดับ การคลอดก่อนกำหนด เป็นภาวะแทรกซ้อนหนึ่งที่ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดที่แน่ชัดโดยประมาณร้อยละ 25 มีสาเหตุมาจากมารดาและทารก และร้อยละ 75 เป็นการเจ็บครรภ์ก่อนกำหนดที่เกิดขึ้นเอง หรือมีปัจจัยร่วม เช่น อายุ น้ำหนัก การสูบบุหรี่ การทำงานหนัก ความเครียด เป็นต้นผู้วิจัยจึงมีแนวคิดอยากศึกษาการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการเฝ้าคลอดและการมาฝากครรภ์คุณภาพตามเกณฑ์จะมีผลต่อการทำนายการเกิดการคลอดก่อนกำหนด
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการเฝ้าคลอดการฝากครรภ์คุณภาพและกลุ่มครอบครัวมีส่วนร่วมในการเฝ้าคลอดร่วมกับกลุ่มฝากครรภ์คุณภาพต่อการคลอดก่อนกำหนด ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ โดยศึกษาย้อนหลังเชิงวิเคราะห์ retrospective analytic study โดยการค้นหาข้อมูลจากสถิติคลอดของสตรีมีครรภ์ที่มาคลอดในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2557 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2559 จำนวน 5,370 ราย เกณฑ์การคัดออกคือหญิงคลอดที่มีการลงข้อมูลผิดปกติจากความเป็นจริงที่ไม่สามารถค้นหาหรือแก้ไขได้ คงเหลือข้อมูลที่สมบูรณ์ใช้วิเคราะห์ ได้ 4,940 ราย นำข้อมูลมาวิเคราะห์เปรียบเทียบจำนวนและร้อยละของการคลอดก่อนกำหนดระหว่าง 1. กลุ่มครอบครัวไม่มีส่วนร่วมในการเฝ้าคลอดร่วมกับไม่ได้ฝากครรภ์คุณภาพ 2.กลุ่มครอบครัวมีส่วนร่วมในการเฝ้าคลอด 3.กลุ่มที่ฝากครรภ์คุณภาพ และ4.กลุ่มครอบครัวมีส่วนร่วมในการเฝ้าคลอดร่วมกับกลุ่มฝากครรภ์คุณภาพ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) กลุ่มครอบครัวมีส่วนร่วมในการเฝ้าคลอดร่วมกับกลุ่มฝากครรภ์คุณภาพมีทารกคลอดก่อนกำหนดน้อยที่สุด รองลงมาคือกลุ่มฝากครรภ์คุณภาพคิดเป็นร้อยละ 3.25 และ 5.88 ตามลำดับ และพบกลุ่มครอบครัวไม่มีส่วนร่วมในการเฝ้าคลอดร่วมกับกลุ่มไม่ได้ฝากครรภ์คุณภาพมีทารกคลอดก่อนกำหนดมากที่สุดคือร้อยละ 11.33 และเมื่อควบคุมตัวแปรอายุ อาชีพ และลำดับการตั้งครรภ์ ด้วยการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบ log risk regression พบว่ากลุ่มฝากครรภ์คุณภาพ และกลุ่มครอบครัวมีส่วนร่วมในการเฝ้าคลอดร่วมกับการฝากครรภ์คุณภาพ ลดอัตราการคลอดก่อนกำหนดได้เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มครอบครัวไม่มีส่วนร่วมในการเฝ้าคลอดร่วมกับกลุ่มไม่ได้ฝากครรภ์คุณภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (RR =0.51, 95% CI = 0.40-0.66, RR = 0.28, 95 % CI = 0.19-0.41 ตามลำดับ) ส่วนกลุ่มครอบครัวมีส่วนร่วมในการเฝ้าคลอดเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มครอบครัวไม่มีส่วนร่วมในการเฝ้าคลอดร่วมกับกลุ่มที่ไม่ได้ฝากครรภ์คุณภาพไม่มีความแตกต่างกัน
References
2. ปิยะพร ศิษย์กุลอนันต์. การพยาบาลสตรีที่มีความเสี่ยงต่อการเจ็บครรภ์คลอดก่อน
กำหนด.วารสารพยาบาลศาสตร์ 2550;25(2):5-9
3. M201600002-1479882138-ตัวชี้วัดกรมอนามัย-2560-081159
4. วิไล นาคอินทร์ และพัชรี พงษ์พานิช.ปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย ในโรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร.งานหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม 2 ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร.2560.
5. ณัฏฐมณฑน์ โกศัย, ฉวี เบาทรวง และกรรณิการ์ กันธะรักษา.ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำ หรับการดูแลสตรี ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำ หนดหน่วยงานห้องคลอด โรงพยาบาลสุโข
6. สุพัตรา ปิ่นแก้ว, เอมพร รตินธร, เยาวลักษณ์ เสรีเสถียร และ วิบูลย์ เรืองชัยนิคม.ผลของโปรแกรมการดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่เสี่ยงต่อภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดต่ออัตราการเกิดภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. พยาบาลสาร ปีที่ 38 ฉบับที่ 3 กรกฏาคม - กันยายน 2554.
7. สุพล บงกชมาศ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดในสตรีตั้งครรภ์แรกในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์.สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร.ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2551.
8. สุภาพร เลิศกวินอนันต์,กรรณิการ์ กันธะรักษา และ ฉวี เบาทรวง. การทบทวนอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการจัดการความเครียดในสตรีที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. พยาบาลสาร ปีที่ 43 มกราคม พ.ศ.2559.