เปรียบเทียบผลการให้คำปรึกษาแบบใช้ความเข้มแข็งเป็นฐานทางโทรศัพท์และแบบพบหน้า ต่อความเข้มแข็งทางใจและภาวะเหนื่อยล้าหมดไฟในผู้ที่มีความเสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต
คำสำคัญ:
การให้คำปรึกษาแบบใช้ความเข้มแข็งเป็นฐาน, การให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์, ความเข้มแข็งทางใจ, ภาวะเหนื่อยล้าหมดไฟ, ปัญหาสุขภาพจิตบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบความเข้มแข็งทางใจและภาวะเหนื่อยล้าหมดไฟระหว่างการให้คำปรึกษาแบบใช้ความเข้มแข็งเป็นฐานช่องทางโทรศัพท์ทั้งสองครั้ง (telephone counseling 2 times: TT) ช่องทางพบหน้าทั้งสองครั้ง (face-to-face counseling 2 times: FF) และช่องทางพบหน้าครั้งแรกและโทรศัพท์ติดตาม (face-to-face counseling and follow-up by telephone: FT) ในผู้ที่มีความเสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต
วัสดุและวิธีการ : ใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากแบบบันทึกการให้คำปรึกษาผู้มีความเสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งเป็นการดำเนินงานในระบบบริการปกติในเขตสุขภาพที่ 2, 4, 6 และ 9 ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง กันยายน พ.ศ. 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลทั่วไป ความเข้มแข็งทางใจ และภาวะเหนื่อยล้าหมดไฟ และเปรียบเทียบคะแนนพลังใจและภาวะเหนื่อยล้าหมดไฟ ระหว่างช่องทาง TT FF และ FT โดยใช้สถิติ ANCOVA และทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ย โดยใช้ สถิติ LSD กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผล : หลังจากได้รับคำปรึกษาแบบใช้ความเข้มแข็งเป็นฐานทั้งช่องทางโทรศัพท์ทั้งสองครั้ง ช่องทางพบหน้าทั้งสองครั้ง และช่องทางพบหน้าครั้งแรกและโทรศัพท์ติดตาม กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนพลังใจสูงขึ้น ภาวะเหนื่อยล้าหมดไฟลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติไม่แตกต่างกันทุกช่องทาง โดยช่องทางที่เพิ่มพลังใจที่ดีที่สุดคือแบบพบหน้าครั้งแรกและโทรศัพท์ติดตาม ช่องทางที่ลดภาวะเหนื่อยล้าหมดไฟที่ดีที่สุดคือพบหน้าครั้งแรกและโทรศัพท์ติดตาม หรือพบหน้าทั้งสองครั้ง
สรุป : การคำปรึกษาแบบใช้ความเข้มแข็งเป็นฐานทางโทรศัพท์และการให้คำปรึกษาแบบพบหน้ามีแนวโน้มให้ผลลัพธ์ในการเพิ่มความเข้มแข็งทางใจและลดภาวะเหนื่อยล้าหมดไฟในผู้ที่มีความเสี่ยงปัญหาสุขภาพจิตไม่ต่างกัน โดยการให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์เป็นทางเลือกการให้บริการที่มีความยืดหยุ่น ช่วยเพิ่มการเข้าถึงบริการของผู้มีความเสี่ยงด้านสุขภาพจิตได้
References
World Health Organization. Mental disorders. [Online]. Geneva: World Health Organization; 2022. Available from:https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/mental-disorders [2023 Nov 1].
World Health Organization. Mental health at work. [Online]. Geneva: World Health Organization; 2022. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/mental-health-at-work [2023 Nov 1].
โพสต์ทูเดย์. Burnout in the city งานวิจัยชี้ชาวกรุงวัยทำงานเกินครึ่งเสี่ยงหมดไฟ. [Online]. กรุงเทพฯ: โพสต์ทูเดย์; 2563. Available from: https://www.posttoday.com/lifestyle/613654 [2023 Nov 1].
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. Mental Health Check-In ตรวจเช็คสุขภาพใจ. [Online]. Available from: https://checkin.dmh.go.th/. [2023 Nov 1].
World Health Organization. Burn-out an "occupational phenomenon": International Classification of Diseases. [Online]. Geneva: World Health Organization; 2019. Available from: https://www.who.int/mental_health/evidence/burn-out/en/. [2023 Nov 9].
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. ภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout syndrome). [Online]. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต; 2562.Availablefrom: https://dmh.go.th/news/view.asp?id=2270 [2023 Nov 9].
ปองกานต์ ศิโรรัตน์. การศึกษาเกี่ยวกับภาวะหมดไฟในการทำงาน (Job burnout) ของพนักงานองค์กรรัฐวิสาหกิจ กล่มเจเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์ [สารนิพนธ์มหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2563.
ตฤณพงษ์ ทับทิมสี. ภาวะหมดไฟในการทำงานของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานสถานีดับเพลังและกู้ภัยลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร. [Online]. กรุงเทพฯ: รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต; 2562.Available from:https://kbu.ac.th/mpa/wp-content/uploads/2021/11/บทความ-ตฤณพงษ์-ทับทิมสี.pdf [2023 Nov 9].
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปีกรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2565. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต; 2566.
เทอดศักดิ์ เดชคง. แนวทางการให้คําปรึกษาแบบใช้ความเข้มแข็งเป็นฐาน (Strength Based Counseling) สําหรับกลุ่มเสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต. นนทบุรี: สํานักวิชาการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต; 2566.
Kemp S. Digital 2024: Global Overview Report. [Online].Singapore:DataReportal; 2024. Available from: https://datareportal.com/reports/digital-2024-global-overview-report [2024 May 4].
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. การสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2566 (ไตรมาส 1). กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2566.
วรางคณา โสมะนันทน์, คาลอส บุญสุภา, พลอยไพลิน กมลนาวิน. การให้บริการการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบออนไลน์ : มิติใหม่ของการให้บริการปรึกษาเชิงจิตวิทยา. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ 2564; 15(1): 247-60.
เทอดศักดิ์ เดชคง. ผลของโปรแกรมการสนทนาแบบสร้างแรงจูงใจต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารสถาบันบำราศนราดูร 2563; 14(3): 134-45.
Grotberg HE. A guide to promoting resilience in children: strengthening the human spirit - early childhood development: practice and reflections number 8. The Hague: Bernard van Leer Foundation.; 1995.
เทอดศักดิ์ เดชคง, พาสนา คุณาธิวัฒน์, ธิดารัตน์ ทิพโชติ, ภพธร วุฒิหาร. ความตรงและความเชื่อมั่นของแบบประเมินพลังใจฉบับ 3 ข้อ. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2565; 30(4): 297-306.
เทอดศักดิ์ เดชคง, ศรัณยพิชญ์ อักษร, พาสนา คุณาธิวัฒน์, ขวัญเรือน อัศดรศักดิ์, ธิดารัตน์ ทิพโชติ. ความสัมพันธ์ระหว่างแบบประเมินพลังใจ ฉบับ 3 ข้อ กับการคัดกรองความเสี่ยงปัญหาสุขภาพจิตตามกลุ่มวัย. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2566; 31(1): 52-63.
สำนักวิชาการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต. รายงานเบื้องต้นการพัฒนาแบบประเมินความเหนื่อยล้าหมดไฟ (Burnout) เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารและขับเคลื่อน Mental Health Check-In (ฉบับปรับปรุง). นนทบุรี: สำนักวิชาการสุขภาพจิต; 2566.
สุววุฒิ วงศ์ทางสวัสดิ์. ผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยารายบุคคลแบบออนไลน์แนวอัตถิภาวนิยม-มนุษยนิยมต่อสุขภาวะของนิสิตนักศึกษาปริญญาตรีที่มีบุคลิกภาพแบบไม่มั่นคงทางอารมณ์ [วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2559.
Zeren SG, Erus SM, Amanvermez Y, Buyruk-Genc A, Yilmaz MB, Duy B. The effectiveness of online counseling for university students in Turkey: a non-randomized controlled trial. European J Ed Res 2020; 9(2): 825-34. doi:10.12973/eu-jer.9.2.825.
ปุณยนุช คณากรณ์, กิติกร พรมา. ผลของโปรแกรมเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจด้วยโปรแกรมออนไลน์ต่อภาวะซึมเศร้าและความเข้มแข็งทางใจในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา 2567; 18(1): 57-71.
เอกชัย ลีลาวงศ์กิจ, ชนานันท์ เคนคำ. ผลของการใช้วิดีโอจิตบำบัดเพื่อป้องกันภาวะหมดไฟจากการทำงาน (Burnout syndrome) จากสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด 19 ในอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.) หน่วยบริการปฐมภูมิ (PCU) โรงพยาบาลไชยวาน. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2565; 12(3): 609-23.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา