ผลของการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีรู้คิดและพฤติกรรมที่มีต่อภาวะซึมเศร้า ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนแห่งหนึ่งในเขตภาคกลาง

ผู้แต่ง

  • ชนิกานต์ บุญเรือง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • กาญจนา สุทธิเนียม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • ทยตา รัตนภิญโญวานิช คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

การปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีรู้คิดและพฤติกรรม, นักเรียน, ภาวะซึมเศร้า

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : 1) เพื่อเปรียบเทียบภาวะซึมเศร้าของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนแห่งหนึ่ง เขตภาคกลางก่อนทดลองและหลังการทดลองการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีรู้คิดและพฤติกรรม และ2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะซึมเศร้าของนักเรียนนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนแห่งหนึ่ง ในเขตภาคกลาง ก่อนทดลองและหลังการทดลอง ระหว่างกลุ่มทดลองการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีรู้คิดและพฤติกรรมและกลุ่มควบคุมที่รับการดูแลตามระบบการดูแลของโรงเรียน

วัสดุและวิธีการ : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา   ปีที่ 1 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 217 คน ทำแบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าในเด็ก Children’s Depression Inventory (CDI) คัดเลือกนักเรียนมีภาะวะซึมเศร้ามากกว่า 15 คะแนนจำนวน 16 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง จำนวนกลุ่มละ 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เครื่องที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้า CDI ฉบับภาษาไทย  2) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ การปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีรู้คิดและพฤติกรรม เพื่อลดภาวะซึมเศร้า มีการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติเชิงเปรียบเทียบโดยใช้ Nonparametric Statistics, Wilcoxon signed rank test และ Mann-Whitney U test

ผล : ภาวะซึมเศร้าของนักเรียน กลุ่มทดลองที่ได้รับการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีรู้คิดและพฤติกรรม หลังการทดลอง ลดลงกว่าก่อนได้รับการปรึกษากลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และภาวะซึมเศร้าของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีรู้คิดและพฤติกรรม กับนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลตามระบบการดูแลของโรงเรียน ความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001

สรุป : การปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีรู้คิดและพฤติกรรมสามารถลดระดับภาวะซึมเศร้าของนักเรียนได้

References

World Health Organization. Adolescent Mental Health 2021.[Online]. Available from: https://www.who.int/ news-room/fact-sheets/detail/adolescent-mental-health [2022 Jul 16].

ฐิติพร ศุภสิทธิ์ธำรง.โรคซึมเศร้า (Depression). 2565. [Online]. Available from: https://www.medparkhospital .com/ disease-and-treatment/depression [2024 Jul 26].

กาญจนา สุทธิเนียม, อุบล สุทธิเนียม. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ- บ้านสมเด็จเจ้าพระยา. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2563;34(3):43–61.

บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์. วัยรุ่นไทยเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้ากว่า 3 ล้านคนป่วยแล้วกว่า 1 ล้านคน.2560. [Online]. Available from: https://www.thansettakij.com/ content/244893 [2022 Sep 15].

กรมสุขภาพจิต.รายงานจำนวนการฆ่าตัวตายของ ประเทศไทยแยกตามช่วงอายุ.[Online]. 2562.Available from: https://dmh.go.th/report/suicide/age.asp [2022 Mar 5].

กรุงเทพธุรกิจ. 5 อันดับปัญหาเด็กไทย 2562. [Online]. Available from: https://www.bangkokbiznews.com/ social/844522[2022 Mar5].

Sara Lindberg. Can Counseling Help with Depression? 2021. [Online]. Available from: https://www. Verywellmind .com/depression-counseling-4769574 [2022 Jul 16].

พฤกษา พึ่งสุข, มานิกา วิเศษสาธร. ผลของโปรแกรมการบำบัดพฤติกรรมผ่านการรู้คิด (CBT) ต่อภาวะซึมเศร้าของวัยรุ่นในสถานสงเคราะห์. วารสารจิตวิทยา. 2562; 9:28–39.

ถิรนันท์ ผิวผา. ผลของโปรแกรมการฝึกทักษะชีวิตต่อภาวะซึมเศร้าในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2560.

อุมาพร ตรังคสมบัติ, วชิระ ลากบุญทรัพย์, ปิยลัมพร หะวานนท์. การใช้ CES-D ในการคัดกรองภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2540;42(1):2-13

กมลพรรณ ค้ำชู. ความรู้ ทัศนคติและการใช้แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าในเด็ก (CDI) และแบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น (CES-D) ของเจ้าหน้าที่บ้านพักเด็ก และครอบครัวในการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2562. [Online]. Available from: http://doi.nrct.go.th/?page=resolvedoi&resolvedoi = 10.14457/TU.the.2019.1594 [2022Jul15].

Beck AT. Cognitive therapy: Nature and relation to behavior therapy. Behavior Therapy. 1970 May;1(2): 184–200.

Joshi SS, Babushkina-Patz NN, Verbik DJ, Gross TG, Tarantolo SR, Kuszynski CA, et al. Antitumor activity of human umbilical cord blood cells: A comparative analysis with peripheral blood and bone marrow cells. Int J Oncol. 1998 Oct;13(4):791–9.

Saleh J, Mahmoudi O, Paydar M and. Efficacy of Cognitive-Behavioral Therapy on the Reduction of Depression among Students. Quarterly Journal of Child Mental Health.2015;2(1). [Online]. Available from: http://childmentalhealth.ir/article-1-34-en.html[2022 Jul 16].

Oud M, de Winter L, Vermeulen-Smit E, Bodden D, Nauta M, Stone L, et al. Effectiveness of CBT for children and adolescents with depression: A systematic review and meta-regression analysis. European Psychiatry.2019;57:33–45.doi:10.1016/j.eurpsy.2018. 12.008

ธนภร แสงสุริยากาศ. ประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมการปรับความคิดและพฤติกรรมแบบหลายช่องทางในผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตลาด จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2565.

ปฏิภาณี บุตรชัย. ผลของการให้การปรึกษาที่มุ่งเน้นการรู้คิด-พฤติกรรมร่วมกับการเยี่ยมบ้านต่ออาการซึมเศร้าของผู้ป่วยซึมเศร้า โรงพยาบาลหางดง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2564.

Ayman M, Hamdan-Mansour, Kathryn Puskar, Amal G. Bandak. Effectiveness of Cognitive-Behavioral Therapy on Depressive Symptomatology Stress and Coping Strategies among Jordanian University Students. Mental Health Nursing. 2009(30:3):188–96

รำพึง รัตนา. ความต้องการทางสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนระยองวิทยาคมจังหวัดระยอง. [จันทบุรี]: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี; 2554.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-17