การพัฒนาความสามารถของผู้ปกครองในการปรับพฤติกรรมเด็กออทิสติกโดยการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยม
คำสำคัญ:
ความสามารถในการปรับพฤติกรรมเด็กออทิสติก, การปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยม, ผู้ปกครองเด็กออทิสติกบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : 1) เพื่อศึกษาผลของการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยมต่อความสามารถของผู้ปกครองในการปรับพฤติกรรมเด็กออทิสติก และ 2) เพื่อศึกษาผลของความสามารถของผู้ปกครองในการปรับพฤติกรรมเด็กออทิสติก ระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยมกับกลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลตามระบบปกติของโรงเรียน
วัสดุและวิธีการ : การวิจัยเป็นกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็น ผู้ปกครองโรงเรียนอนุบาลแห่งหนึ่ง โดยเป็นผู้ปกครองเด็กออทิสติกที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์และขึ้นทะเบียนผู้พิการโดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 14 คน และสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 7 คน โดยกำหนดให้เป็นกลุ่มทดลองและ กลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองได้รับการปรึกษากลุ่มและกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามระบบปกติของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แบบวัดความสามารถของผู้ปกครองในการปรับพฤติกรรมเด็กออทิสติก และ 2) การปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยม ในการพัฒนาความสามารถของผู้ปกครองในการปรับพฤติกรรมเด็กออทิสติก จำนวน 10 ครั้ง สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง 30 นาที โดยวิเคราะห์ข้อมูลค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติ Wilcoxon signed rank test และ Mann-Whitney U test
ผล : 1) ความสามารถของผู้ปกครองในการปรับพฤติกรรมเด็กออทิสติกกลุ่มทดลองที่ได้รับการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยม หลังการทดลองเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 2) ผู้ปกครองเด็กออทิสติกกลุ่มทดลองที่ได้รับการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยม มีความสามารถในการปรับพฤติกรรมเด็กออทิสติกเพิ่มขึ้นกว่าผู้ปกครองเด็กออทิสติกกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
สรุป : การปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยมสามารถพัฒนาความสามารถของผู้ปกครองในการปรับพฤติกรรมเด็กออทิสติกได้
References
กระทรวงศึกษาธิการ. แผนการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ฉบับที่ 3 พ.ศ 2560 - 2564. กรุงเทพฯ: กระทรวง ศึกษาธิการ; 2561.
โสธิดา ผุฏฐธรรม. ผลของโปรแกรมการพัฒนาทักษะทางสังคมโดยใช้เทคนิค Social Stories ร่วมกับภาพถ่ายสำหรับเด็กออทิสติก [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.
Kinnear SH, Link BG, Ballan MS, Fischbach RL. Understanding the experience of stigma for parents of children with autism spectrum disorder and the role stigma plays in families’ lives. J Autism Dev Disord 2016; 46(1): 942-53.
กุลยา ตันติผลาชีวะ. เด็กออทิสติก สอนไม่ยากหากเข้าใจ ศูนย์พัฒนาศักยภาพเด็ก (RICS). กรุงเทพฯ: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง; 2553.
สมัย ศิริทองถาวร, สินีนาฏ จิตต์ภักดี, จุฬาภรณ์ สมใจ. ปัจจัยบางประการที่สัมพันธ์กับการเกิดออทิสซึมในเด็กที่มารับบริการ ณ สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ จังหวัดเชียงใหม่ [online]. Available from: https://suicide. dmh.go.th/ [2023 Feb 11].
พสุ วุฒินันท์, นาฏนภางค์ โพธิ์ไพจิตร์. แนวทางการให้คำปรึกษาตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยม. วารสารพุทธจิตวิทยา 2564; 6(1): 1-10.
จารุวรรณ ก้านศรี. ผลการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มต่อการลดความเคลียดของผู้ปกครอง. วารสารทางวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2550; 1(1): 1-9.
ธณัชช์นรี สโรบล,โชคชัย โชคภัทรชัย, สุมิตรพร จอมจันทร, สมพร สิทธิสงคราม, นิตยา บุญลือ. ผลของโปรแกรมการปรึกษาแบบกลุ่มต่อความสามารถในการปรับตัวของผู้ปกครองเด็กสมาธิสั้น. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ 2563, 5(12): 445-461.
Keen D, Couzens D, Musprall S, Rodger S. The effects of a parent-focused intervention for children with a recent diagnosis of autism spectrum disorder on parenting stress and competence. Res Autism Spectr Disord 2005; 4(2): 229-41.
Corey and Gerald. Theory and Practice of Counseling & Psychotherapy. 8th ed. CA: Belmont; 2009.
Hastings RP, Brown T. Behavioural knowledge, causal beliefs, and self- efficacy as predictors of special educators' emotional reactions to challenging behaviours. J Intellect Disabil Res 2002; 46: 144-50.
กัญญาณัฐ สิทธิยศ. การพัฒนาสมรรถนะของผู้ปกครองในการปรับพฤติกรรมเด็กออทิสติก [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. พิษณุโลก: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2558.
Siller M, Sigman M. The behaviors of parents of children with autistic predict the subsequent development of their children's communication: J Autism Dev Disord 2002; 32: 77-89.
สุวัชราพร สวยอารมณ์, เพ็ญนภา กุลนภาดล, ประชา อินัง. การเสริมสร้างพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีบุตรวัยรุ่นด้วยการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการ.วารสารการวัดผลการศึกษาสำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา 2566; 40(108): 40-50.
Mancil GR. Functional communication training: A review of the literature related to children with autism. Educ Train Dev Disabil 2006; 41(3): 213-24.
Caplan SW. The effect of group counseling in junior high school boys' concepts of themselves in school. J Couns Psychol 1957; 4(2), 124-8.
สุพัตรา จันทร์สุวรรณ. พลังอำนาจของผู้ดูแลเด็กออทิสติก ณ ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารศาสตร์พระราชาและการวิจัยเพื่อสร้างดุลยภาพชีวิตในยุค 2563; 12: 3583-91.
อาริสรา ทองเหม, ประพิมพ์ใจ เปี่ยมคุ้ม. การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กออทิสติกที่สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์. วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ 2560; 6(2): 21-36.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา