คุณภาพชีวิตและความเครียดของบุคลากรสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยาในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ผู้แต่ง

  • สุทธา สุปัญญา สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
  • กฤตนัย แก้วยศ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

ความเครียด, คุณภาพชีวิต, บุคลากร, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตและความเครียดของบุคลากรสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยาในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

วัสดุและวิธีการ : งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ในบุคลากรของสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยาระหว่างเดือนกันยายน - เดือนตุลาคม พ.ศ.2564 โดยเครื่องมือวิจัยที่ใช้คือ 1) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป 2) แบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย และ 3) แบบประเมินความเครียด สถิติที่ใช้ คือ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสดถอยพหุคูณ และสถิติความสัมพันธ์สเปียแมน

ผล : จากบุคลากรทั้งหมด 630 คน มีผู้ตอบกลับ 384 คน (ร้อยละ 60.9) มีอายุเฉลี่ย 40.3 ± 11.16 ปี และจำนวนปีของการปฏิบัติงานเฉลี่ย 14.1 ± 10.69 ปี ลักษณะการทำงานโดยหลักเป็นงานบริการดูแลรักษาผู้ป่วย (ร้อยละ 74.2) และส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตระดับกลาง (ร้อยละ 57.3) และมีระดับความเครียดน้อย (ร้อยละ 63.3) พบว่าปัจจัยที่อาจจะเกี่ยวข้องกับความเครียด คือระยะเวลาของการปฏิบัติงานที่มากกว่า 20 ปี การมีปัญหากับเพื่อนร่วมงาน และการมีความคิดอยากโอนย้ายหรือลาออก ส่วนปัจจัยที่อาจจะเกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิต คือ การมีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป การมีโรคประจำตัวทางกาย รายได้ต่อเดือนมากกว่า 45,000 บาท รายได้ไม่เพียงพอ การมีบุตร/ธิดา และการนอนหลับมากกว่า 7 ชั่วโมงต่อวัน

สรุป : พบปัจจัยที่ส่งเสริมส่งเสริมให้บุคลากรมีความเครียดที่น้อยลงและมีคุณภาพชีวิตที่ดี ดังนั้นข้อมูลนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลให้กับผู้บริหารหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายและวางแผนเพื่อบุคลากรของสถาบันฯ ต่อไป

References

Yadav V. Quality of life: Dimensions and measurement. In B. S (Ed.), Multidimensional approach to quality of life issues. Singapore: Springer; 2019.

Leitão J, Pereira D, Gonçalves Â. Quality of work life and contribution to productivity: assessing the moderator effects of burnout syndrome. Int J Environ 2021; 18(5): 2425.

ชุมพร ฉ่ำแสง, อุมาพร เคนศิลา, นัยนา ตั้งใจดี, กิตติพงษ์ คงสมบูรณ์. ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของบุคลากรฝ่ายการพยาบาล ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดนครนายก. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2555.

O'Connor DB, Thayer JF, Vedhara K. Stress and health: a review of psychobiological processes. Annu Rev Psychol 2021; 72(1): 663–88.

Karasek RTT. Healthy work: stress, productivity and the reconstruction of working life. New York: Basic Books; 1990.

สมชัย ตั้งพร้อมพันธ์. การบริหารความเครียดของผู้นำ. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลเกษมราษฎร; 2556.

Ruotsalainen JH, Verbeek JH, Mariné A, Serra C. Preventing occupational stress in healthcare workers. Cochrane Database Syst Rev 2015; 4: CD002892.

De Giorgi R, Dinkelaar BM. Strategies for preventing occupational stress in healthcare workers: past evidence, current problems. BJPsych Advances 2021; 27(3): 205–10.

Li X, Jiang T, Sun J, Shi L, Liu J. The relationship between occupational stress, job burnout and quality of life among surgical nurses in Xinjiang, China. BMC Nursing 2021; 20(1).

วศิน คัมภีระ. คุณภาพชีวิตแพทย์โรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดสงขลา. สงขลา: โรงพยาบาลจะนะ; 2561.

ดุษฎี อุดมอิทธิพงศ์, พลภัทร์ โล่เสถียรกิจ, อรภรณ์ สวนชัง, กฤตนัย แก้วยศ, เกยูรมาศ อยู่ถิ่น. คุณภาพชีวิตของพยาบาลวิชาชีพสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา 2562; 13(2): 31-42.

เอกลักษณ์ แสงศิริรักษ์, สิรินรัตน์ แสงศิริรักษ์. ความเครียดและอารมณ์เศร้าของบุคลากรทางการแพทย์ในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2563; 65(4): 400-8.

Young KP, Kolcz DL, O’Sullivan DM, Ferrand J, Fried J, Robinson K. Health care workers’ mental health and quality of life during COVID-19: results from a mid-pandemic, national survey. Psychiatr Serv 2021; 72(2): 122-8.

Vizheh M, Qorbani M, Arzaghi SM, Muhidin S, Javanmard Z, Esmaeili M. The mental health of healthcare workers in the COVID-19 pandemic: A systematic review. J Diabetes Metab Disord 2020; 19(2): 1967-78.

Zhao YJ, Zhang SF, Li W, Zhang L, Cheung T, Tang YL, et al. Mental health status and quality of life in close contacts of COVID-19 patients in the post-COVID-19 era: a comparative study. Transl Psychiatry 2021: 11(1); 505.

Suryavanshi N, Kadam A, Dhumal G, Nimkar S, Mave V, Gupta A, Cox SR, Gupte N. Mental health and quality of life among healthcare professionals during the COVID‐19 pandemic in India. Brain Behav 2020; 10: e01837.

Vizheh Ma, Qorbani M, Arzaghi SM, Muhidin S, Javanmard Z, Esmaeili M. The mental health of healthcare workers in the COVID-19 pandemic: a systematic review. J Diabetes Metab Disord 2020; 19(2): 1967-78.

Al Dhaheri AS, Bataineh MF, Mohamad MN, Ajab A, Marzouqi AA, Jarrar AH, et al., Impact of COVID-19 on mental health and quality of life: Is there any effect? A cross-sectional study of the MENA region. PLOS ONE 2021; 16(3): e0249107.

De Kock JH, Latham HA, Leslie SJ, Grindle M, Munoz S, Ellis L, et al., A rapid review of the impact of COVID-19 on the mental health of healthcare workers: implications for supporting psychological well-being. BMC Public Health 2021; 21: 104.

Smallwood N, Karimi L, Bismark M, Putland M, Johnson D, Dharmage SC, et al., High levels of psychosocial distress among Australian frontline healthcare workers during the COVID-19 pandemic: a cross-sectional survey. BMJ J Gen Psychiatry 2021; 34(5): e100577.

Mutambudzi M, Flowers P, Demou E. Association of perceived job security and chronic health conditions with retirement in older UK and US workers. Eur J Public Health 2021; ckab170: https://doi.org/10.1093/eurpub/ckab170.

Chum A, Kaur S, Teo C, Nielsen A, Muntaner C, O’Campo P. The impact of changes in job security on mental health across gender and family responsibility: evidence from the UK Household Longitudinal Study. Soc Psychiatry Psychiatr Epidemiol 2021; doi: 10.1007/s00127-021-02187-6.

Gorgenyi-Hegyes E, Nathan RJ, Fekete-Farkas M. Workplace health promotion, employee wellbeing and loyalty during COVID-19 pandemic-large scale empirical evidence from Hungary. Economies 2021; 9(2): 55.

Bulińska-Stangrecka H, Bagieńska A. The role of employee relations in shaping job satisfaction as an element promoting positive mental health at work in the era of COVID-19. Int J Environ Res Public Health 2021; 18(4): 1903.

Alrawashdeh HM, Al-Tammemi AB, Alzawahreh MK, Al-Tamimi A, Elkholy M, Al Sarireh F, et al. Occupational burnout and job satisfaction among physicians in times of COVID-19 crisis: a convergent parallel mixed-method study. BMC Public Health 2021; 21(1): 811.

Molina-Hernández J, Fernández-Estevan L, Montero J, González-García L. Work environment, job satisfaction and burnout among Spanish dentists: a cross-sectional study. BMC Oral Health 2021; 21(1): 811.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-01

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ