ลักษณะของผู้ป่วยจิตเวชสูงอายุที่มารับบริการแบบผู้ป่วยในที่สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

ผู้แต่ง

  • พิชญา ชาญนคร สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
  • ธิติมา ณรงค์ศักดิ์ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
  • นฤมล พิณเมืองทอง สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

โรคจิตเวช, ลักษณะของผู้ป่วย, จิตเวชสูงอายุ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาลักษณะของผู้ป่วยจิตเวชสูงอายุที่มารับบริการแบบผู้ป่วยในที่สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

วัสดุและวิธีการ : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา แบบการศึกษาย้อนหลัง ในผู้ป่วยจิตเวชสูงอายุที่มารับบริการที่สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยาแบบผู้ป่วยใน ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ แบบสอบถามข้อมูลบุคคล และแบบสอบถามข้อมูลทางคลินิก สถิติที่ใช้ คือ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และมัธยฐาน

ผล : พบว่าผู้ป่วยจิตเวชสูงอายุที่มารับบริการแบบผู้ป่วยในที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ทั้งหมด 557 คน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 56.4) มีค่ามัธยฐานของอายุเป็น 65 ปี และมีสถานภาพโสด (ร้อยละ 38.1) ส่วนใหญ่ใช้สิทธิการรักษาแบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ร้อยละ 70.7 และวินิจฉัยหลักป่วยเป็นโรคทางจิตเวชในกลุ่ม F20 - F29 ร้อยละ 60.3 อีกทั้งกลุ่มตัวอย่างมีโรคร่วมทางจิตเวช (ร้อยละ 11.3) และโรคร่วมทางกาย (ร้อยละ 88.7) มีระยะเวลานอนในโรงพยาบาลมากกว่า 31 วันขึ้นไป (ร้อยละ 43.6) และมีค่ามัธยฐานของค่ารักษาพยาบาล คือ 35,443.25 บาท/ครั้ง

สรุป : จากข้อมูลผู้ป่วยจิตเวชสูงอายุที่มารักษาแบบผู้ป่วยในที่สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ปี 2562 - 2563 ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป และข้อมูลทางคลินิกที่ได้จากการศึกษาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและจัดตั้งคลินิกจิตเวชผู้สูงอายุของสถาบันฯ ต่อไป

References

ชมพูนุช พรหมภักดิ์. การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา; 2556.

วีรศักดิ์ เมืองไพศาล. ประเด็นสำคัญในทางปฏิบัติสำหรับการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว. กรุงเทพฯ: สมาคมพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ; 2564.

วีรศักดิ์ เมืองไพศาล. พฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุสำหรับการดูแลผู้ป่วยสูงอายุขั้นต้น. กรุงเทพฯ: สมาคมพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ; 2561.

มูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ, สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ. 2556. กรุงเทพฯ: มูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ, สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ: 2558

กุลศราภรณ์ ชัยอุดมสม, ภัทรี พหลภาคย์, ภาพันธ์ วัฒนวิทย์กิจ, ศิรินภา อภิสิทธิ์ภิญโญ. จิตเวชศาสตร์. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2560.

Lilford P, Hughes JC. Epidemiology and mental illness in old age. BJ Psych Advances 2020; 26(2): 92-103.

เจริญศักดิ์ อ่ำกลิ่น, เกษราภรณ์ เคนบุปผา. ระบาดวิทยาโรคจิตเวชในผู้สูงอายุที่มารับบริการในโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ ระหว่างปี พ.ศ. 2551 – 2555. อุบลราชธานี: โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์; 2559.

Reynolds K, Pietrzak RH, El-Gabalawy R, Mackenzie CS, Sareen J. Prevalence of psychiatric disorders in U.S. older adults: findings from a nationally representative survey. World Psychiatry 2015; 14(1): 74-81.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. รายงานการสํารวจประชากรสูงอายุในประเทศไทยพ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2561.

Wang J, Mann F, Lloyd-Evans B, Ma R, Johnson S. Associations between loneliness and perceived social support and outcomes of mental health problems: a systematic review. BMC Psychiatry 2018; 18(1): 156.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ. สถานการณ์ผู้สูงอายุ ปี 2562 [online]. Available from: https://thaitgri.org/?p=39457 [10 กรกฎาคม 2564].

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2562. นครปฐม: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย; 2563.

มาริสา จิตต์นุพงศ์ บุญพันธ์, เสาวภา ปานเพชร. การศึกษาลักษณะทั่วไป และลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยจิตเวชสูงอายุที่เข้าการรักษา แบบผู้ป่วยในโรงพยาบาลสวนสราญรมย์. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2562; 33(3): 103-14.

Anantapong K, Vittayanont A, Werachattawan N. Prevalence of Mental Disorders in Older Outpatients in Songklanagarind Hospital. J Med Assoc Thai 2017; 100(12); 1331-7.

Rainville JR, Hodes GE. Inflaming sex differences in mood disorders. NPP 2019; 44(1): 184-99.

Neigh GN, Nemeth CL, Rowson SA. Sex differences in immunity and inflammation: implications for brain and behavior sex differences in the Central Nervous System: 2015; 1-26.

Ijaz S, Bolea B, Davies S, Savović J, Richards A, Sullivan S, et al. Antipsychotic polypharmacy and metabolic syndrome in schizophrenia: a review of systematic reviews. BMC Psychiatry 2018; 18(1): 275.

Millan MJ, Agid Y, Brüne M, Bullmore ET, Carter CS, Clayton NS, et al. Cognitive dysfunction in psychiatric disorders: characteristics, causes and the quest for improved therapy. Nat Rev Drug Discov 2012; 11(2): 141-68.

Orooji A, Nazar E, Sadeghi M, Moradi A, Jafari Z, Esmaily H. Factors associated with length of stay in hospital among the elderly patients using count regression models. Med J Islam Repub Iran 2021; 35: 5.

Jacobs R, Gutacker N, Mason A, Goddard M, Gravelle H, Kendrick T, et al. Determinants of hospital length of stay for people with serious mental illness in England and implications for payment systems: A regression analysis. BMC Health Serv Res 2015; 15.

คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ. คู่มือการใช้ยาอย่างสมเหตุผลตามบัญชียาหลักแห่งชาติยาที่ใช้ทางจิตเวชศาสตร์. กรุงเทพฯ: คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ; 2558.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-01

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ