ผลการใช้รูปแบบการเตรียมความพร้อมอย่างมีแบบแผนต่อความวิตกกังวลของผู้ป่วยจิตเวชในระยะก่อนได้รับการรักษาด้วยไฟฟ้าแบบใช้ยาระงับความรู้สึกครั้งแรก
คำสำคัญ:
การรักษาด้วยไฟฟ้าแบบใช้ยาระงับความรู้สึก, ความวิตกกังวล, ผู้ป่วยจิตเวช, รูปแบบการเตรียมความพร้อมอย่างมีแบบแผนบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความวิตกกังวลของผู้ป่วยจิตเวชในระยะก่อนและหลังได้รับการรักษาด้วยไฟฟ้าแบบใช้ยาระงับความรู้สึกครั้งแรกระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม
วัสดุและวิธีการ : การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 40 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 20 ราย ที่ได้รับการเตรียมความพร้อมอย่างมีแบบแผนต่อความวิตกกังวลในผู้ป่วยจิตเวชระยะก่อนได้รับการรักษาด้วยไฟฟ้าแบบใช้ยาระงับความรู้สึก และกลุ่มควบคุม 20 ราย ซึ่งได้รับการดูแลตามปกติ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป คือ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบคะแนนความวิตกกังวลก่อนและหลังการทดลอง ด้วยสถิติทดสอบที และระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม
ผล : พบว่าข้อมูลทั่วไปด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ของครอบครัว สิทธิในการจ่ายค่ารักษาพยาบาล การวินิจฉัยโรคและจำนวนครั้งในการรักษาด้วยไฟฟ้าระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม ไม่มีความแตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบความวิตกกังวล พบว่าผู้ป่วยในกลุ่มทดลองหลังได้รับรูปแบบการเตรียมความพร้อมอย่างมีแบบแผนระยะก่อนได้รับการรักษาด้วยไฟฟ้าแบบใช้ยาระงับความรู้สึกครั้งแรก มีความวิตกกังวล (10.5 ± 5.15) น้อยกว่าก่อนการทดลอง (21.6 ± 8.01) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลอง (10.5 ± 5.15) กับกลุ่มควบคุม (8.9 ± 4.53) พบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
สรุป : สามารถนำรูปแบบการเตรียมความพร้อมในผู้ป่วยจิตเวชระยะก่อนได้รับการรักษาด้วยไฟฟ้าแบบใช้ยาระงับความรู้สึกไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนางานการประเมินผู้ป่วยเพื่อลดความวิตกกังวลในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยไฟฟ้าแบบใช้ยาระงับความรู้สึก และใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาทักษะแก่บุคลากรในการให้ข้อมูล ความรู้กับผู้ป่วยและญาติที่มารับบริการรักษาด้วยไฟฟ้าแบบใช้ยาระงับความรู้สึก
References
กฤติน กิตติกรชัยชาญ, พัทยา จันทร์เสงี่ยม, นฤมล ไชยชำนาญเวทย์, เอกนาจ อาจธนกุล, นันทนา หอมสุข, พัทยากร เกิดสุข. ผลของการประเมินก่อนการระงับความรู้สึกโดยใช้วิดิทัศน์ต่อความกังวลก่อนการผ่าตัดของผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา. ศรีนครินทร์เวชสาร 2559: 31(3); 299-305.
ธีระ ลีลานันทกิจ. การรักษาด้วยไฟฟ้าทฤษฎีและภาคปฏิบัติ. ปทุมธานี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2553.
รัตนา สายพานิชย์. Article from Rama mental Electroconvulsive Therapy (ECT) [online]. Available from: https://med.mahidol.ac.th/ ramamental/sites/default/files/public/pdf/ECT%20%28mechanism%20and%20procedure%29.pdf [5 กุมภาพันธ์ 2564].
Obbels J, Verwijk E, Bouckaert F, Stenaert P. ECT-related anxiety: a systematic review. J ECT 2017: 33(4); 229-36.
Vaghee S, Sepehrikia M, Saghebi SA, Vashani HB, Salarhaji A, Moghaddam ZN. Comparison of the effect of face – to – face and multimedia education on the anxiety caused by electroconvulsive therapy in patients with mood disorders. Evid Based Care J 2017: 7(1); 25-34.
ณัชพล เติมพรเลิศ, ปัญจภรณ์ วาลีประโคน. ผลของวีดีทัศน์สื่อความรู้ต่อการลดความวิตกกังวลในการรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2563: 65(2); 153-66.
ขษีร์สิริ หงส์วิไล. ผลลัพธ์ของแบบแผนการเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึก [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2556.
เพ็ชรัตน์ อัธยาศัยงาม, ชื่นฤทัย ยี่เขียน. ความรู้ ความวิตกกังวลและความคิดเห็นก่อนการระงับความรู้สึกเพื่อทำผ่าตัดของผู้ป่วยที่ดูสื่อสถานีโทรทัศน์วิสัญญี. วิสัญญีสาร 2558: 41(2); 92-102.
เพ็ญศรี จะนู. ผลการใช้สื่อวีดีทัศน์เพื่อเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนผ่าตัดต่อระดับความรู้และความพึงพอใจในผู้ป่วยที่มารับบริการผ่าตัดแบบผู้ป่วยนอก ห้องผ่าตัดหู คอ จมูก โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. ปทุมธานี: โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ; 2558.
สมจิตต์ จันทร์กูล, กรกฎ เจริญสุข. ผลของการสอนผู้ป่วยก่อนผ่าตัดหัวใจด้วยสื่อวิดิทัศน์ต่อความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตนและระดับความวิตกกังวล. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2558: 25(1); 157-66.
สจี ศักดิ์โสภิษฐ์. ผลการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนต่อความวิตกกังวลของผู้ป่วยส่องกล่องทางเดินอาหารส่วนต้นและส่วนปลายในระยะก่อนส่องกล้องโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. ปทุมธานี: โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ; 2556.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา