ผลของโปรแกรมให้คำปรึกษาแบบกลุ่มอัตถิภาวะนิยมต่อภาระการดูแลผู้ดูแลในผู้ป่วยจิตเภทสูงอายุ

ผู้แต่ง

  • ดุษฎี อุดมอิทธิพงศ์ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
  • พิชญา ชาญนคร สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

โปรแกรมให้คำปรึกษาแบบกลุ่มอัตถิภาวะนิยม, ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทสูงอายุ, ภาระ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทก่อนและหลังได้รับโปรแกรมให้คำปรึกษาแบบกลุ่มอัตถิภาวะนิยมต่อภาระการดูแลผู้ดูแลในผู้ป่วยจิตเภทสูงอายุ และเพื่อเปรียบเทียบภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทระหว่างกลุ่มที่ได้รับให้คำปรึกษาแบบกลุ่มอัตถิภาวะนิยมต่อภาระการดูแลผู้ดูแลในผู้ป่วยจิตเภทสูงอายุกับกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ

วัสดุและวิธีการ : เป็นการศึกษาวิจัยกึ่งทดลอง ในผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทสูงอายุที่อยู่เข้ามารับบริการ คลินิกจิตเวชสูงอายุ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 คน วัดก่อนและหลังการทดลอง โดยกลุ่มควบคุมได้รับกิจกรรมการพยาบาลตามปกติแบบการพยาบาลผู้ป่วยนอกของสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา และกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมให้คำปรึกษาแบบกลุ่มอัตถิภาวะนิยมต่อภาระการดูแลผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทสูงอายุ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล แบบวัดภาระในการดูแล และโปรแกรมให้คำปรึกษาแบบกลุ่มอัตถิภาวะนิยมต่อภาระการดูแลผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทสูงอายุ

ผล : หลังการทดลอง คะแนนภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทสูงอายุที่ได้รับโปรแกรมให้คำปรึกษาแบบกลุ่มอัตถิภาวะนิยม น้อยกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.007) และน้อยกว่าผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทสูงอายุที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.009)

สรุป : โปรแกรมให้คำปรึกษาแบบกลุ่มอัตถิภาวะนิยมสามารถช่วยให้ภาระการดูแลผู้ดูแลในผู้ป่วยจิตเภทสูงอายุลดลงได้ ดังนั้น พยาบาลและบุคลากรที่เกี่ยวข้องสามารถเรียนรู้และประยุกต์ใช้โปรแกรมดังกล่าวนี้เพื่อช่วยเหลือผู้ดูแลให้มีภาระลดลง

References

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2559. นครปฐม: บริษัท พริ้นเทอรี่ จำกัด; 2560.

กรมสุขภาพจิต. ผู้สูงวัยไทย “สมองเสื่อม” 8 แสนกว่าคน. ข่าวหนังสือพิมพ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิต. [online]. https://www.dmh.go.th/news-dmh/ [2018 Jun 18].

Regeva S, Josman N. Evaluation of executive functions and everyday life for people with severe mental illness: A systematic review. Schizophr Res Cogn 2020; 21: 100178.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี กรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2557. กรุงเทพฯ: บริษัท บียอนด์พับลิสชิ่ง จำกัด 2557.

Chen L, Zhao Y, Tang J, Jin G, Liu Y, Zhao X, et al. The burden, support and needs of primary family caregivers of people experiencing schizophrenia in Beijing communities: a qualitative study. BMC Psychiatry 2019; 19: 75.

อุทุมพร วงษ์ศิลป์, ภาสกร สวนเรือง. ต้นทุนการให้บริการผู้ป่วยกลุ่มโรคจิตเภท พฤติกรรมแบบ โรคจิตเภท และโรคหลงผิด. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2562; 13(4): 420-7.

Rafiyah I, Sutharangsee W. Review: burden on family caregivers caring for patients with schizophrenia and its related factors. Nurse Media J Nurs 2011; 1(1): 29-41.

เขมณัฏฐ์ ศรีพรหมภัทร์, พัชรินทร์ นินทจันทร์, โสภิณ แสงอ่อน. ความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งแกร่งในชีวิต ตราบาป ความรู้ แรงสนับสนุนทางสังคม และปัจจัยส่วนบุคคล กับความรู้สึกเป็นภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2558; 29(1): 103-22.

Adeosun II. Correlates of Caregiver Burden among Family Members of Patients with Schizophrenia in Lagos, Nigeria. Schizophr Res Treat 2013: 2013; 353809.

Lim Y, YH. A. Burden of family caregivers with schizophrenic patients in Korea. Appl Nurs Res 2003; 16(2): 110-7.

Frankl V. Man’s search for ultimate meaning. New York: Basic Books; 2000.

Hosseinigolafshani SZ, Taheri S, Mafi M, Mafi MH, Kasirlou L. The effect of group logo therapy on the burden of hemodialysis patients’ caregivers. J Renal Inj Prev 2020; 9(4): e33.

Brandstätter M, Kögler M, Baumann U, Fensterer V, Küchenhoff H, Borasio GD, et al. Experience of meaning in life in bereaved informal caregivers of palliative care patients. Springer-Verlag Berlin Heidelberg 2014; 1-9.

Fegg MJ, Brandstätter M, Kögler M, Hauke G, Rechenberg-Winter P, Fensterer V, et al. Existential behavioural therapy for informal caregivers of palliative patients: a randomized controlled trial. Psychooncology 2013; 22(9): 2079-86.

ประเทือง ละออสุวรรณ, นภา จิรัฐจินตนา. ผลของการใช้โปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัวต่อภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่ได้รับการเยี่ยมบ้านเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา 2561; 12(2): 37-47.

ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ, รัชนี สรรเสริญ, วรรณรัตน์ลาวัง. การพัฒนาแบบวัดภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง. การพยาบาลและการศึกษา 2554; 4: 62-75.

ดุษฎี อุดมอิทธิพงศ์. ผลการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีอัตถิภาวะนิยมต่อความวิตกกังวลของสตรีวัยทอง [วิทยานิพนธ์]. ชลบุรี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา; 2546.

Sharma N, Chakrabarti S, Grover S. Gender differences in caregiving among family-caregivers of people with mental illnesses. World J Psychiatry 2016; 6(1): 7-17.

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต), เปรียบเทียบแนวคิดพุทธทาสกับซาร์ตร์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุขภาพใจ; 2551.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-27

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ