ปัจจัยทำนายการชักไม่สมบูรณ์ต่อการรักษาด้วยไฟฟ้าแบบใช้ยาระงับความรู้สึกในผู้ป่วยจิตเวชโดยเทคนิคเหมืองข้อมูล

ผู้แต่ง

  • นารีรัตน์ ทองยินดี สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
  • มาลี หนานเจียง สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
  • สิริวัฒน์ สุวัฒนปรีดา สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
  • พรสวรรค์ พูลกระจ่าง สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
  • พิมพ์ชนา เหมอนันต์ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
  • นฤมล พิณเมืองทอง สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

การชักไม่สมบูรณ์, การรักษาด้วยไฟฟ้า, ใช้ยาระงับความรู้สึก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการไม่ชักของผู้ป่วยรักษาด้วยไฟฟ้าในสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

วัสดุและวิธีการ : การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้โปรแกรม Rapid Miner แบบทดลองใช้ โดยใช้วิธีโมเดลแผนภาพต้นไม้ (Decision tree) ในการวิเคราะห์ข้อมูลจากเหมืองข้อมูลในโปรแกรม BMS-HOSxP ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ เป็นผู้ป่วยในที่ได้รับการรักษาด้วยไฟฟ้าแบบใช้ยาระงับความรู้สึก ในสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2559 ถึง วันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2561

ผล :  พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการไม่ชักของผู้ป่วยรักษาด้วยไฟฟ้าแบบใช้ยาระงับความรู้สึกครั้งแรก ในสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา คือ การใช้กระแสไฟฟ้าในการรักษาผู้ป่วยน้อยกว่า 60 mc การใช้ยา Lamotrigine และ Carbamazepine ภายใน 24 ชั่วโมง ก่อนทำการรักษาด้วยไฟฟ้าได้ การใช้ยา Thiopental มากกว่า 437.5 มิลลิกรัม และใช้ยา Propofol มากกว่า 130 มิลลิกรัม    

สรุป: ปัจจัยทำนายการชักไม่สมบูรณ์ต่อการรักษาด้วยไฟฟ้าแบบใช้ยาระงับความรู้สึกในผู้ป่วยจิตเวชโดยเทคนิคเหมืองข้อมูลจากการวิจัยครั้งนี้นำมาปรับปรุงการรักษาด้วยไฟฟ้าแบบใช้ยาระงับความรู้สึกตามแนวทางที่ได้วิเคราะห์

References

ธีระ ลีลานันทกิจ. การรักษาด้วยไฟฟ้าทฤษฎีและภาคปฏิบัติ. ปทุมธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์: 2553.

Jonathan W, Andrew E. The ECT Handbook. London: Royal College of Psychiatrists; 2017.

สายฝน เอกวรางกูร. การพยาบาลจิตและสุขภาพจิตศาสตร์และศิลป์สู่การปฏิบัติ 1. นครศรีธรรมราช: สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์: 2558; 167-188.

Ka FC, Susan JW. Stimulus dose titration for electroconvulsive therapy. Psychiat Clin Neuros 2001; 105-10.

Nitturkar AR, Preeti S, Bagewadi VI, Thirthalli J. Effect of age and anticonvulsants on seizure threshold during bilateral electroconvulsive therapy with brief-pulse stimulus: A chart-based analysis. Indian J Psychiat 2016; 58(2): 190-7.

Mankad MV, Beyer JL, Weiner RD, Krystat AD. Clinical manual of electroconvulsive Therapy. New York: American Psychiatric Association; 2010.

Kumar A, Sharma DK, Mani R. A comparison of propofol and thiopentone for electroconvulsive therapy. J Anaesthesiol Clin Pharmacol 2012; 28(3): 353-7.

Zahavi GS, Dannon P. Comparison of anesthetics in electroconvulsive therapy: an effective treatment with the use of propofol, etomidate, and thiopental. Neuropsychiatr Dis Treat 2014; 10: 383-9.

Layne EM, Young JL, Votolato NA. Effect of concurrent lamotrigine in patients receiving electroconvulsive therapy. J ECT 2005; 21(1): 60.

Penland HR, Ostroff RB. Combined use of lamotrigine and electroconvulsive therapy in bipolar depression: a case series. J ECT 2006; 22(2): 142-7.

Sienaert P, Roelens Y, Demunter H, Vansteelandt K, Peuskens J, Van Heeringen C. Concurrent use of lamotrigine and electroconvulsive therapy. J ECT 2011; 27(2): 148-52.

Marchetti RL, Fiore LA, Peluso MAM. Safety and efficacy of ECT in mental disorders associated with epilepsy: report of three cases. J ECT 2003; 19: 173-6.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-30

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ