การพัฒนาการบำบัดทางการพยาบาลแบบบูรณาการในผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมรุนแรง
คำสำคัญ:
การบำบัดทางการพยาบาลแบบบูรณาการ, ผู้ป่วยจิตเภท, พฤติกรรมรุนแรงบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาการบำบัดทางการพยาบาลแบบบูรณาการในผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมรุนแรง และศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการจัดการพฤติกรรมรุนแรงด้วยตนเองสำหรับผู้ป่วยจิตเภท (SMP)
วิธีการศึกษา: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาวิเคราะห์สภาพ เป็นการวิจัยปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมรุนแรง ในผู้ป่วย จิตเภท จำนวน 117 คน ร่วมกับการสัมภาษณ์เกี่ยวกับการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมรุนแรง ของพยาบาลจิตเวช จำนวน 5 คน ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาโปรแกรมการจัดการพฤติกรรมรุนแรง ด้วยตนเองสำหรับผู้ป่วยจิตเภท โดยนำผลการศึกษาจากขั้นตอนที่ 1 มาเป็นแนวทางในการพัฒนาโปรแกรม ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้ เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง โดยนำโปรแกรมจัดการพฤติกรรมรุนแรง ด้วยตนเองสำหรับผู้ป่วยจิตเภท ไปทดลองใช้ในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมรุนแรง จำนวน 40 คน ประเมินผลโดยแบบประเมิน Prasri violent severity scale (PVSS) วัดก่อนรับการบำบัด หลังสิ้นสุดการบำบัด 2 สัปดาห์ และ 6 สัปดาห์ ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลและการปรับปรุงการบำบัด นำโปรแกรมไปเผยแพร่ในองค์กร
ผล: 1) โปรแกรม SMP ประกอบด้วย 6 กิจกรรม ได้แก่ การค้นหาสาเหตุของพฤติกรรมรุนแรง โรคจิตเภทกับพฤติกรรมรุนแรง การจัดการอาการทางจิตกับการลดพฤติกรรมรุนแรง การควบคุมตนเองจากพฤติกรรมรุนแรง การเผชิญปัญหาการควบคุมตนเอง และการประเมินการควบคุมตนเอง 2) ผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมรุนแรง ที่ได้รับการดูแลตามโปรแกรม SMP มีคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมรุนแรงลดลง และมีระดับความรุนแรงน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ ในสัปดาห์ที่ 2 และ สัปดาห์ที่ 4 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
สรุป: การบำบัดทางการพยาบาลแบบบูรณาการในผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมรุนแรง พัฒนาเป็นโปรแกรม SMP มีประสิทธิผลในการป้องกันพฤติกรรมรุนแรงในผู้ป่วยจิตเภทได้
References
Soyka M. Neurobiology of aggression and violence in schizophrenia. Schizophr Bull 2011; 37(5): 913-20.
เวนิช บุราชรินทร์, เพ็ญพักตร์ อุทิศ. ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมรุนแรงของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2554; 25(3): 24-37.
Tam E, Engelsmann F, Fugere, R. Patterns of violent incidents by patients in a general hospital psychiatric facility. Psychiatr Serv 1996; 47(1): 86-8.
Walsh E, Gilvarry C, Samele C, Harvey K, Manley C, Tattan T. Predicting violence in schizophrenia: a prospective study. Schizophr Res 2004; 67(2-3): 247-52.
Edlinger M, Rauch AS, Kemmler G, Yalcin-Siedentopf N, Fleischhacker WW, Hofer A. Risk of violence of inpatients with severe mental illness do patients with schizophrenia pose harm to others?. Psychiatry Res 2014; 219(3): 450-6.
Fazel S, Gulati G, Linsell L, Geddes JR, Grann M. Schizophrenia and violence: systematic review and meta-analysis. PLoS Med 2009; 6(8): 1-15.
Krakowski MI, Czobor P. Distinctive profiles of traits predisposing to violence in schizophrenia and in the general population. Schizophr Res 2018; 202: 267-73.
Hoptman MJ, Antonius D, Mauro CJ, Parker EM, Javitt DC. Cortical thinning, functional connectivity, and mood-related impulsivity in schizophrenia: relationship to aggressive attitudes and behavior. Am J Psychiatry 2014; 171(9): 939-48.
Witt K, van Dorn R, Fazel S. Risk factors for violence in psychosis: systematic review and meta regression analysis of 110 studies. PLoS One 2013; 8(2): 1-15.
Bo S, Abu-Akel A, Kongerslev M, Haahr UH, Simonsen E. Risk factors for violence among patients with schizophrenia. Clin Psychol Rev 2011; 31(5): 711-26.
Bushman BJ. Moderating role of trait aggressiveness in the effects of violent media on aggression. J Pers Soc Psychol 1995; 69(5): 950-60.
Darrell-Berry H, Berry K, Bucci S. The relationship between paranoia and aggression in psychosis: A systematic review. Schizophr Res 2016; 172(1-3): 169-76.
พยุงศักดิ์ ฟางแก้ว. ผลของการจัดการความโกรธที่เน้นการปรับความคิดต่อพฤติกรรมรุนแรงของผู้ป่วยจิตเภท [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2558.
วรรณวิภา ชำนาญ, เพชรสุนีย ์ ทั้งเจริญกุล, สมบัติ สกุลพรรณ์. ประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมการจัดการกับความโกรธสำหรับผู้ป่วยจิตเภท: กรณีศึกษาโรงพยาบาลอุตรดิตถ์. พยาบาลสาร 2560; 44(3): 125-33.
Ryan P, Sawin KJ. The individual and family self-management theory: background and perspectives on context, process, and outcomes. Nurs Outlook 2009; 57(4): 217-25.
Peplau HE. Interpersonal relations in nursing: A conceptual framework of reference for psychodynamic nursing. New York: Springer Publishing Co, Inc.; 1991.
Brown WN. Psychoeducational groups: process and practice. New York: Routledge Taylor and Francis Group; 2015.
Yalom ID. The theory and practice of group psychotherapy. New York: Basic Books; 1991.
Busner J, Targum S. The clinical global impressions scale: applying a research tool in clinical practice. Psychiatry 2007; 4(7): 28-37.
Levenson MR, Kiehl KA, Fitzpatrick CM. Assessing psychopathic attributes in a noninstitutionalized population. J Pers Soc Psychol 1995; 68(1): 151-8.
Patton JH, Stanford MS, Barratt ES. Factor structure of the Barratt impulsiveness scale. J Clin Psychol 1995; 51: 768-74.
Buss AH, Perry MP. The aggression questionnaire. J Pers Soc Psychol 1992; 63: 452-9.
หวาน ศรีเรือนทอง, ธรณินทร์ กองสุข, สุพัตรา สุขาวห, ทรงพล โลดทนงค์, จินตนา ลี้จงเพิ่มพูน. การพัฒนาแบบประเมินระดับความรุนแรงของพฤติกรรมก่อความรุนแรงในผู้ป่วยจิตเวชที่มีอาการรุนแรง. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2559; 61(3): 253-66.
กัญญาวรรณ ระเบียบ. ผลของโปรแกรมการฝึกการผ่อนคลายกล้ามเนื้อร่วมกับการควบคุมความโกรธต่อพฤติกรรมก้าวร้าวในผู้ป่วยจิตเภท [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2555.
Overall J, Gorham D. The brief psychiatric rating scale. Psych Report 1962; 10: 799-812.
Keers R, Ullrich S, BL. D. Association of violence with emergence of persecutory delusions in untreated schizophrenia. Am J Psychiatry 2014; 171: 332-29.
Lamsma J, Harte JM. Violence in psychosis: Conceptualizing its causal relationship with risk factors. Aggress. Violent Behav 2015; 24: 75-82.
จาริณี ถิรพัทรพันธ์. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกับตนเองของผู้ป่วยโรคเรื้อรังวัยผู้ใหญ่: การวิเคราะห์อภิมาน [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.
Zou H, Li Z, Nolan MT, Arthur D, Wang H, Hu L. Self-management education interventions for persons with schizophrenia: a meta-analysis. Int J Ment Health Nurs 2013; 22(3): 256-71.
Lean M, Fornells-Ambrojo M, Milton A, Lloyd-Evans B, Harrison-Stewart B, Yesufu-Udechuku A, et al. Self-management interventions for people with severe mental illness: systematic review and meta-analysis. Br J Psychiatry 2019; 214(5): 260-8.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา