คุณภาพชีวิตของพยาบาลวิชาชีพสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิต, พยาบาลวิชาชีพบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของพยาบาลวิชาชีพสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
วัสดุและวิธีการ : การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ที่มีอายุงานตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไป จำนวน 164 คน เก็บข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามไปให้พยาบาลทั้งหมดในสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ที่ตรงตามเกณฑ์ช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ.2561 – เดือนมกราคม พ.ศ.2562 เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก ชุดย่อ ฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ
ผล : พยาบาลสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา 164 คน ยินดีตอบแบบสอบถาม ร้อยละ 100.0 มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 39 ปี ร้อยละ 53.1 ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 52.4 สถานภาพโสด ร้อยละ 48.2 ส่วนใหญ่ไม่มีบุตร ร้อยละ 64.0 เป็นผู้ปฏิบัติงาน ร้อยละ 75.0 ปฏิบัติงานมากกว่า 10 ปี ร้อยละ 53.7 ส่วนใหญ่ปฏิบัติงานเป็นกะ/หอผู้ป่วยใน ร้อยละ 70.7 ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 68.3 ออกกำลังกาย ร้อยละ 70.7 มีเงินเดือนอยู่ในช่วง 20,000 - 40,000 บาท ร้อยละ 56.7 ใ1 เดือนไม่มีปัญหาในการทำงาน ร้อยละ 78.6 ระดับคุณภาพโดยรวมอยู่ระดับปานกลาง ร้อยละ 68.3 โดยมีองค์ประกอบคุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับดีมากที่สุด ร้อยละ 99.4 ส่วนองค์ประกอบคุณภาพชีวิต ด้านจิตใจ-ด้านร่างกายอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 87.8 พบความคิดเห็นเพิ่มเติมที่ต้องการมากที่สุด คือ สวัสดิการบ้านพัก ค่าตอบแทน รถรับส่ง ร้อยละ 7.3 ส่งเสริมสุขภาพกาย สุขภาพจิต ร้อยละ 6.1 และด้านสิ่งแวดล้อมร้อยละ 4.5 ตามลำดับ
สรุป : ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนช่วยเหลือ และเพื่อที่จะจัดสวัสดิการให้ได้อย่างเหมาะสม ในการปรับปรุงและส่งเสริมคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพให้ดีขึ้น และคงไว้ซึ่งคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพให้ยั่งยืนต่อไป
References
ผจญ เฉลิมสาร. คุณภาพชีวิตในการทำงาน. [online]. Available from: http://www.m-society.go.th [2018 Jul 15].
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-พ.ศ.2564). [online]. Available from: http://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422. [2018 Aug 15].
Tseng TZ, Wang RH. Quality of life and related factors among elderly nursing home resident in southern Taiwan. Public Health Nurs 2008; 18: 304-11.
The WHOQOL Group. The World Health Organization Quality of Life Assessment (WHOQOL): position paper from the World Health Organization. Soc Sci Med 1995; 41(10): 1403-09.
สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการจัดเก็บข้อมูลสำคัญด้านการพยาบาลปี 2560 (ข้อมูลของปีงบประมาณ 2559). [online]. Available from: http://www.nursing.go.th/ITNurse/Manual_Datanurse2017.pdf [2018 Aug 9].
Akram JR, Vafa F, Pejman M. Factors affecting quality of life and marital satisfaction among married nurses and nursing assistants. Ann Trop Med Public Health 2017; 10: 1460-6.
อุดมรัตน์ สงวนศิริธรรม. การพัฒนาวิชาชีพการพยาบาล. เชียงใหม่: โรงพิมพ์ช้างเผือก; 2550.
สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. รายงานประจำปี 2557. กรุงเทพฯ: สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา; 2557.
ประภารัตน์ พรมเอียง, นวรัตน์ สุวรรณผ่อง, มธุรส ทิพยมงคลกุล, ฉวีวรรณ บุญสุยา. คุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลนครปฐม. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2558; 24(4): 769-78.
ลลิศรา สุขิโตวัฒน์. คุณภาพชีวิตของพยาบาลวิชาชีพสาขาอายุรศาสตร์ในโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 2559; 5(2): 1035-42.
Zeng JY, An FR, Xiang YT, Qi YK, Ungvari GS, Newhouse R, et al. Frequency and risk factors of workplace violence on psychiatric nurses and its impact on their quality of life in China. Psychiatry Res 2013; 210(2): 510-4.
Dong H, Zhang Q, Sun Z, Sang F, Xu Y. Sleep disturbances among Chinese clinical nurses in general hospitals and its influencing factors. BMC Psychiatry 2017; 17: 241.
Yamane,T. Statistic: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row; 1973.
สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วิรวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, กรองจิต วงศ์สุวรรณ, ราณี พรหมานะจิรังกุล. เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุด 100 ตัวชี้วัดและ 26 ตัวชี้วัด. วารสารกรมสุขภาพจิต 2541; 5(3): 4-15.
Boonrod W. Quality of working life: perceptions of professional nurses at Phramongkutklao Hospital. J Med Assoc Thai 2009; 92 (Suppl 1): 7-15.
เอื้ออารี เพ็ชรสุวรรณ, นวรัตน์ สุวรรณผ่อง, นพพร โหวธีระกุล, ฉวีวรรณ บุญสุยา. คุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง. วารสารเกื้้อการุณย์ 2555; 19(2): 103-17.
ธิดารัตน์ ศรีกนันทา. คุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศิริราช [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. กรุุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล; 2555.
Jathanna P, D’Silva J. Quality of life among nurses working in different health care setting in the state of Karnataka, India. J Health Res 2014; 1(4): 241-4.
Wargo-Sugleris M, Robbins W, Lane CJ, Phillips LR. Job satisfaction, work environment and successful ageing: Determinants of delaying retirement among acute care nurses. J Adv Nurs 2018; 74(4): 900-13.
Faremia FA, Olatubib MI, Adeniyic KG, Salau OR. Assessment of occupational related stress among nurses in two selected hospitals in a city southwestern Nigeria. Int J Africa Nurs Sci 2019; 10: 68-73.
Barrientos LA, Suazo SV. Quality of life associated factors in Chileans hospitals nurses. Rev Latinoam Enfermagem 2007; 15(3): 480-6.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา