ประสิทธิผลของโปรแกรมให้การปรึกษาทางโทรศัพท์แบบสร้างเสริมแรงจูงใจในผู้มีปัญหาพนัน
คำสำคัญ:
โปรแกรมให้การปรึกษาทางโทรศัพท์แบบสร้างเสริมแรงจูงใจ, ผู้มีปัญหาพนันบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาโปรแกรมให้การปรึกษาทางโทรศัพท์แบบสร้างเสริมแรงจูงใจและเปรียบเทียบจำนวนวันในการเล่นพนัน จำนวนเงินที่ใช้เล่นพนัน ความรุนแรงของปัญหาพนันระดับขั้นของแรงจูงใจ และความพร้อมในการเลิกพนัน ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมให้การปรึกษาทางโทรศัพท์แบบสร้างเสริมแรงจูงใจ
วัสดุและวิธีการ : การวิจัยเป็นงานวิจัยกึ่งทดลองโดยมีรูปแบบหนึ่งกลุ่มวัดก่อนและหลัง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้รับบริการปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิตเลิกพนัน 1323 ที่โทรเข้ามารับการปรึกษาในปัญหาพนัน จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือโปรแกรมการให้การปรึกษาทางโทรศัพท์แบบสร้างเสริมแรงจูงใจในผู้มีปัญหาพนัน แบบประเมินความรุนแรงของปัญหาพนัน แบบสอบถามความถี่ของการเล่นพนัน ไม้บรรทัดความพร้อม แบบวัดขั้นของแรงจูงใจ และแบบสอบถามทั่วไป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการ Wilcoxon-Sign Rank Test
ผล : พบว่าจากการเปรียบเทียบค่ามัธยฐานก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการให้การปรึกษาทางโทรศัพท์แบบสร้างเสริมแรงจูงใจ พบว่า จำนวนวันในการเล่นพนันต่อเดือนจาก 20 วัน ลดลงเหลือ 0 วัน (p < 0.01) จำนวนเงินที่ใช้เล่นพนันต่อเดือนจาก 30,000 บาท ลดลงเหลือ 0 บาท (p < 0.01) และความรุนแรงของปัญหาพนันจาก 21 คะแนน ลดลงเหลือ 3 คะแนน (p < 0.01) โดยมีระดับขั้นของแรงจูงใจเพิ่มขึ้นถึงจากระดับ 3 เป็นระดับ 4 (p < 0.01) และความพร้อมในการเลิกพนันเพ่มิ ขึ้นจาก 9 คะแนน เป็น 10 คะแนน (p = 0.02)
สรุป : โปรแกรมการให้การปรึกษาทางโทรศัพท์แบบสร้างเสริมแรงจูงใจมีส่วนช่วยให้พฤติกรรมการเล่นการพนันลดลง
References
ธนกฤษ ลิขิตธรากุล, สันติภาพ นันทะสาร. ปัญหาสุขภาพจิตในผู้เล่นการพนันั : กรณีศึกษาผู้รับบริการสายด่วนสุขภาพจิต 1323. รายงานวิจัยศูนย์พัฒนาผู้เชี่ยวชาญและการปรึกษาในปัญหาพนัน สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์; 2558.
สิริจันทร์ เดชปัญญาวัฒน์, ภาสกร คุ้มศิริ, ชญาภา สุนันทชัยกุล, ศิริกุล บุญมี, ชลันดา หนูหล่ำ. การทบทวนข้อมูลของผู้รับบริการสายด่วนสุขภาพจิตเลิกพนัน 1323 กรณีศึกษาปัญหาพนัน. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2558; 5(3): 262-72.
Carlbring P, Jonsson J, Josephson H, Forsberg L. Motivational interviewing versus cognitive behavioral group therapy in the treatment of problem and pathological gambling: a randomized controlled trial. Cogn Behav Ther 2010; 39(2): 92-103.
Cowlishaw S, Merkouris S, Dowling N, Anderson C, Jackson A, Thomas S. Psychological therapies for pathological and problem gambling. Cochrane Database of Systematic Reviews 2012; 11. DOI:10.1002/14651858.CD008937.pub2.
Hodgins D, Holub A. Components of impulsivity in gambling disorder. Int J Ment Health Addict 2015; 13(6): 699-711.
Miller WR, Zweben A, DiClemente CC, Rychtarik RG. Motivational enhancement therapy manual: A clinical research guide for therapists and individuals with alcohol abuse and dependence. Maryland: U.S. Department of Health and Human Services; 1992.
Miller WR, Rollnick S. Talking oneself into change: motivational interviewing, stages of change, and therapeutic process. J Cogn Psychother 2004; 18: 299–308.
Diskin KM, Hodgins DC. A randomized controlled trial of a single session motivational intervention for concerned gamblers. Behav Res Ther 2009; 47(5): 382-8.
Ferris J, Wynne H. The Canadian problem gambling index: final report. Ottawa: Submitted to Canadian Centre on Substance Abuse; 2001.
Smedslund G, Berg RC, Hammerstrøm KT, Steiro A, Leiknes KA, Dahl HM, Karlsen K. Motivational interviewing for substance abuse. Cochrane Database Syst Rev 2011; (5):CD008063. doi: 10.1002/14651858.CD008063.pub2.
Montgomery L, Burlew AK, Kosinski AS, Forcehimes AA. Motivational enhancement therapy for African American substance users: a randomized clinical trial. Cultur Divers Ethnic Minor Psychol 2011; 17(4): 357-65.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา