ผลของโปรแกรมการฝึกอบรมการดูแลผู้ป่วยจิตเภทสำหรับพยาบาลเวชปฏิบัติ
คำสำคัญ:
โปรแกรมการฝึกอบรมการดูแลผู้ป่วยจิตเภท, ผู้ป่วยจิตเภท, พยาบาลเวชปฏิบัติบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกอบรมการดูแลผู้ป่วยจิตเภทสำหรับพยาบาลเวชปฏิบัติ
วัสดุและวิธีการ : เป็นการศึกษาวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ได้รับการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเวชปฏิบัติ (การรักษาโรคเบื้องต้น) 4 เดือน ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 30 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่าย โดยกลุ่มทดลองได้เข้าร่วมโปรแกรมการฝึกอบรมการดูแลผู้ป่วยจิตเภทสำหรับพยาบาลเวชปฏิบัติ และกลุ่มควบคุมปฏิบัติงานการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ คือ คู่มือโปรแกรมการฝึกอบรมการดูแลผู้ป่วยจิตเภทสำหรับพยาบาลเวชปฏิบัติ โดยผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีรูปแบบการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โมเดลซิปปา มาประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้ของโปรแกรมการฝึกอบรมการดูแลผู้ป่วยจิตเภทสำหรับพยาบาลเวชปฏิบัติ และประเมินผลโดยใช้แบบทดสอบความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยจิตเภท จำนวน 72 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยจิตเภทของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ด้วยสถิติที
ผล : คะแนนความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยจิตเภทระหว่างกลุ่มทดลอง ที่เข้าร่วมโปรแกรมการฝึกอบรมการดูแลผู้ป่วยจิตเภทสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และคะแนนความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยจิตเภทของพยาบาลเวชปฏิบัติกลุ่มทดลอง ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป : โปรแกรมการฝึกอบรมการดูแลผู้ป่วยจิตเภทสำหรับพยาบาลเวชปฏิบัติ เป็นเครื่องมือที่สำคัญสามารถเพิ่มความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยจิตเภทในปฏิบัติงานการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชได้อย่างครอบคลุม การพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนมากยิ่งขึ้น เพื่อให้พยาบาลเวชปฏิบัติมีความสามารถปฏิบัติงานด้านสุขภาพจิตและจิตเวช และขยายขอบเขตการปฏิบัติงานด้านสุขภาพจิตและจิตเวช เพื่อนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยจิตเภททั้งในครอบครัวและชุมชน
References
กรมสุขภาพจิต. รายงานประจำปี กรมสุขภาพจิต ปี 2560. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2560.
สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. รายงานประจำปี 2560 สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. กรุงเทพ: สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา; 2560.
กรมสุขภาพจิต. รายงานประจำปี กรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ พ.ศ.2556. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต; 2556.
กรมสุขภาพจิต. คู่มือวิทยากรหลักสูตร การเข้าถึงบริการและดูแลผู้ป่วยโรคจิตสำหรับแพทย์. กรุงเทพฯ: สำนักบริหารระบบบริการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2558.
สภาการพยาบาล. ข้อกำหนดการรักษาโรคเบื้องต้น สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์; 2552.
กรมสุขภาพจิต. คู่มือวิทยากรหลักสูตรการเข้าถึงบริการและดูแลผู้ป่วยโรคจิตสำหรับพยาบาล/นักวิชาการสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: สำนักบริหารระบบบริการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2558.
Matsuda M, Kono A. Development and valuation of a psychoeducation practitioner training program (PPTP). Arch Psychiatr Nurs 2015; 201(29): 195-256.
ทัศนา แขมมณี. การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบซิปปาโมเดล (Cippa Model). กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ; 2548.
ธวัชชัย วรพงศธร. หลักการวิจัยทางสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2543.
บัวลอย แสนละมุล, ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์. ผลของโปรแกรมการให้ความรู้แก่ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท. วารสารการพัฒนาสุขภาชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2557; 2(1): 28-9.
อณิมา จันทรแสน. ผลของการให้สุขภาพจิตศึกษาครอบครัวต่อความรุนแรงของอาการทางจิตในผู้ป่วยจิตเภทที่ใช้สารแอมเฟตามีน [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2558.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา