ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้สุราหรือสารเสพติดซ้ำในผู้ป่วยโรคจิตเภทร่วมสารเสพติด

ผู้แต่ง

  • สุภาภรณ์ นิยติวัฒน์ชาญชัย โรงพยาบาลพิจิตร
  • ปัทมา ศิริเวช สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

การใช้สุราหรือสารเสพติดซ้ำ, โรคจิตเภทร่วมสารเสพติด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้สุราหรือสารเสพติดซ้ำในผู้ป่วยโรคร่วมจิตเภทและสารเสพติด

วัสดุและวิธีการ : การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบเก็บข้อมูล ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยใช้การสัมภาษณ์จากผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉ้ยว่าเป็นโรคจิตเภทที่เคยมีประวัติใชสุ้ราหรือสารเสพติด ระหว่าง กรกฎาคม พ.ศ.2560 – ตุลาคม พ.ศ.2560 จำนวน 138 ราย และบันทึกในแบบเก็บข้อมูลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยสถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และไคสแควร์

ผล : กลุ่มตัวอย่างอายุเฉลี่ยเท่ากับ 35.64 ± 8.49 ปี มีการกลับมาใช้สารเสพติดซ้ำ ร้อยละ 64.5 สารเสพติดที่ใช้มากที่สุดคือ ผลิตภัณฑ์ยาสูบ ร้อยละ 83.3 และเป็นกลุ่มผู้ที่เคยเข้ารับบำบัดสุราหรือสารเสพติดมาก่อนเข้ารักษาในสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยาครั้งนี้ ร้อยละ 50.7 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้สุราหรือสารเสพติดซ้ำของกลุ่มตัวอย่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ปัจจัยทางสังคมในแง่ของอิทธิพลจากคนรอบข้าง เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม ซึ่งมีผลต่อการกลับมาใช้สารเสพติดซ้ำ ร้อยละ 61.8 และปัจจัยจากการจัดการกับปัญหาในแง่เพื่อลดความเครียด ซึ่งมีผลต่อการกลับมาใช้สารเสพติดซ้ำ ร้อยละ 77.5

สรุป : ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้สุราหรือสารเสพติดซ้ำของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ อายุ การใช้ผลิตภัณฑ์ ยาสูบ การเข้ารับบำบัดสุราหรือสารเสพติดมาก่อนเข้ารักษาในสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยาครั้งนี้ ปัจจัยทางสังคมในแง่ของอิทธิพลจากคนรอบข้างเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และปัจจัยจากการจัดการกับปัญหาในแง่เพื่อลดความเครียด

References

นันทิกา ทวิชาชาติ, ธงชัย ทวีชาชาติ, อรพรรณ เมฆสุภะ, สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย, อรรถพล สุคนธาภิรมย์, พวงสร้อย วรกุล. การสำรวจทางระบาดวิทยาของความผิดปกติทางจิตและความรู้เจตคติทักษะการปฏิบัติตนเกี่ยวกับสุขภาพจิตของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. จดหมายเหตุทางแพทย์ แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ 2544; 84: S118-S26.

อนุรักษ์ บัณฑิตย์ชาติ, ภัคนพิน กิตติรักษนนท์, วรวรรณ จุฑา. ระบาดวิทยาของความผิดปกติทางจิตของประชาชนไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2544; 46(4): 335-43.

Whiteford HA, Degenhardt L, Rehm J, Baxter AJ, Ferrari AJ, Erskine HE, et al. Global burden of disease attributable to mental and substance use disorders: findings from the Global Burden of Disease Study 2010. Lancet 2013; 382(9904): 1575-86.

CJL Murray AL. The Global burden of disease : a comprehensive assessment of mortality and disability from diseases, injuries, and risk factors in 1990 and projected to 2020: Geneva: World Health Organization; 1996.

Thirthalli J, Benegal V. Psychosis among substance users. Curr Opin Psychiatry 2006; 19(3): 239-45.

Gottlieb JD, Mueser KT, Glynn SM. Family therapy for schizophrenia: co-occurring psychotic and substance use disorders. J Clin Psychol 2012; 68(5): 490-501.

Cantor-Graae E, Nordström LG, McNeil TF. Substance abuse in schizophrenia: a review of the literature and a study of correlates in Sweden. Schizophr Res 2001; 48(1): 69-82.

Curran C, Byrappa N, Mcbride A. Stimulant psychosis: systematic review. Br J Psychiatry 2004; 185(3): 196-204.

Harris D, Batki SL. Stimulant psychosis: symptom profile and acute clinical course. A m J Addict 2000; 9(1): 28-37.

McKetin R, McLaren J, Lubman DI, Hides L. The prevalence of psychotic symptoms among methamphetamine users. Addiction 2006; 101(10): 1473-8.

Scott JC, Woods SP, Matt GE, Meyer RA, Heaton RK, Atkinson JH, et al. Neurocognitive effects of methamphetamine: a critical eeview and Metaanalysis. Neuropsychol Rev 2007; 17(3): 275-97.

Green AI, Drake RE, Brunette MF, Noordsy DL. Schizophrenia and co-Occurring substance use disorder. Am J Psychiatry 2007; 164(3): 402-8.

Compton MT, Weiss PS, West JC, Kaslow NJ. The associations between substance use disorders, schizophrenia-spectrum disorders, and Axis IV psychosocial problems. Soc Psychiatry Psychiatr Epidemiol 2005; 40(12): 939-46.

Donald M, Dower J, Kavanagh D. Integrated versus non-integrated management and care for clients with co-occurring mental health and substance use disorders: a qualitative systematic review of randomized controlled trials. Soc Sci Med 2005; 60(6): 1371-83.

Halter MJ. Foundations of psychiatric mental health nursing. 7th ed. Saunders; 2013.

Tsuang J, Fong TW, Lesser I. Psychosocial treatment of patients With Schizophrenia and substance abuse disorders. Addict Disord Their Treat 2006; 5(2): 53-66.

เอกอุมา อิ้มคำ. การบำบัดด้านจิตสังคมในผู้ป่วยโรคจิตเภทที่ใช้สารเสพติด การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2556; 7: 697-710.

Thornton LK, Baker AL, Lewin TJ, Kay-Lambkin FJ, Kavanagh D, Richmond R, et al. Reasons for substance use among people with mental disorders. Addict Behav 2012; 37(4): 427-34.

ธนิตา หิรัญเทพ. ปัจจัยที่สัมพนั ธ์กับการไม่เสพยาเสพติดซ้ำในผู้เข้ารับการบำบัดในระบบบังคับบำบัด. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2556; 58: 157-64.

Xie H, McHugo GJ, Fox MB, Drake RE. Substance abuse relapse in a ten-year prospective follow-up of clients with mental and substance use disorders. Psychiatr Serv 2005; 56(10): 1282-7.

Bhandari S, Dahal M, Neupane G. Factors associated with drug abuse relapse: A study on the clients of rehabilitation centers. Al Ameen J Med Sci 2015; 8(4): 293-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-16

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ