การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคมจิตใจผู้ป่วยจิตเภทสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งภาคใต้

ผู้แต่ง

  • สุจิรา เนาวรัตน์ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

โปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคมจิตใจ, ผู้ป่วยจิตเภท

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการฟื้นฟสูมรรถภาพทางสังคมจิตใจผู้ป่วยจิตเภทสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งภาคใต้

วัสดุและวิธีการ : เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ศึกษากลุ่มเดียว วัดก่อนและหลังการทดลองทันที โดยกลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยจิตเภทที่รับ บริการที่สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งภาคใต้ (สิชล) จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 47 คน เครื่องมือวิจัยคือ โปรแกรมฟื้นฟสูมรรถภาพทางสังคมจิตใจ แบบประเมินความสามารถโดยรวม แบบประเมินเพื่อความฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน และแบบประเมินความสามารถตามประเภทความพิการ และให้รหัส ICF (International Classification of Functioning, Disability and Health) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย

ผล : หลังจากเข้าร่วมโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคมจิตใจ มีผู้ป่วยจิตเภทผ่านการประเมินเข้าร่วมโปรแกรมฯ ระดับที่ 3 จำนวน 8 คน จาก 47 คน และทั้ง 8 คน มีคะแนนความสามารถโดยรวม คะแนนสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเวช และความสามารถตามประเภทคนพิการและการให้รหัส ICF มากกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ

สรุป : โปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคมจิตใจสามารถใช้ได้ผลดีกับผู้ป่วยจิตเภทไร้ที่พึ่ง อย่างไรก็ตามต้องมีการฝึกฝนกับผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถผ่านระดับที่สูงขึ้นและมีจำนวนมากขึ้นในการเข้าโปรแกรม รวมทั้งให้มีการพัฒนารูปแบบที่มีความหลากหลายของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคมจิตใจผู้ต่อป่วยจิตเภทไร้ที่พึ่งด้วยเช่นกัน

References

Lortrakul M. Sukanich P. Textbook of Ramathibodi psychiatry. 3rd ed. Bangkok: Beyond Enterprise; 2009.

Phanthunane P, Vos T, Whiteford H, Bertram M, Udomratn P. Schizophrenia in Thailand: prevalence and burden of disease. Popul Health Metr 2010; 8: 24-35.

Wattanasiri O, Sripusito S. The development of process of continuity care in schizophrenia patient by inderdisciplinary team and care giver network of Kamphaeng Phet hospital. J Nurs Division 2013; 40(1): 67-83.

Robinson D, Woerner MG, Alvir J, Bilder R. Predictors of relapse following response from a first episode of schizophrenia or schizoaffective disorders. Arch Gen Psychiatr 1999; 56: 241-47.

Sooksompong S, Udomittipong D, Losatiankij P. Factors associated with relapse in first episode psychosis. J Psychiatr Assoc Thailand 2016; 61(4): 331-40.

สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งภาคใต้ (สิชล). รายงานสถิติจำนวนผู้ป่วยสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งภาคใต้ (สิชล) ปี 2558 – 2559. นครศรีธรรมราช: 2559.

Jaroensan J, Chaichumni N. The development of psychosocial rehabitation case management model for the complicated schizophrenic patients. J Psychiatr Nurs Ment Health 2017; 31(2): 64-77.

เสาวลักษณ์ สุวรรณไมตรี, ชิดชนก โอภาสวัฒนา, ชลลดา จารุศิริชัยกุล. คู่มือการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง สำหรับสถาบัน / โรงพยาบาล สังกัดกรมสุขภาพจิต. กรุงเทพฯ: พรอสเพอรัสพลัส; 2561.

เกียรติภูมิ วงศ์รจิต, พิทักษ์พล บุญยมาลิก, สุพัฒนา สุขสวา่ ง, ศิริลกั ษณ์ สวา่ งวงศส์ ิน. รายงานการวิจัย เรื่องรูปแบบ/กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพผู้ป่วยจิตเวชในระดับชุมชน. นนทบุรี: โรงพยาบาลศรีธัญญา; 2550.

Farkas M, Cohen M, Memce P. Psychiatric rehabilitation programs: putting concepts into practice. Community Ment Health J 2010; 22(2): 114-29.

Kern RS, Glynn SM, Horan P, Marder R. Psychosocial treatments to promote functional recovery in schizophrenia. Schizophr Bull 2009; 35(2): 347-61.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-16

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ