ความเครียด ภาระการดูแล และความต้องการการสนับสนุนของผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า

ผู้แต่ง

  • อุ่นจิตร คุณารักษ์ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

ความเครียด, ความต้องการการสนับสนุน, ภาระการดูแล, ผู้ดูแล, ผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความเครียด ภาระการดูแล ความต้องการการสนับสนุนของผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านต่าง ๆ ต่อความเครียดและภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า

วัสดุและวิธีการ : เป็นการวิจัยแบบผสม แบ่งการศึกษาเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามและแบบประเมิน เพื่อศึกษาความเครียด ภาระการดูแลและหาความสัมพันธ์ และ 2) การสัมภาษณ์ผู้ดูแลเพื่อศึกษาความต้องการการสนับสนุน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคซึมเศร้า สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา จำนวน 92 คน เครื่องมือ คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ดูแลและผู้ป่วย แบบวัดความเครียด  แบบวัดความรู้สึกเป็นภาระและแนวคำถามกึ่งโครงสร้างเกี่ยวกับความต้องการการสนับสนุนของผู้ดูแล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ และวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

ผล : กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงร้อยละ 64.9 อายุเฉลี่ย 50.7 ± 14.39 ปี  ระยะเวลาดูแลผู้ป่วยเฉลี่ย 11.43 ± 10.59 ปี ร้อยละ  61.0 คิดว่าผู้ป่วยซึมเศร้าปานกลาง ความเครียดของผู้ดูแลระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 36.3 ± 15.39) คะแนนเฉลี่ยความรู้สึกเป็นภาระ 28.6 ± 12.76 คะแนน ผลการศึกษาด้านความสัมพันธ์พบว่า อายุของผู้ดูแล ภาระอื่น ๆ  นอกจากการดูแลผู้ป่วย  การป่วยด้วยโรคอื่นนอกจากโรคซึมเศร้าสัมพันธ์กับความเครียดในระดับปานกลาง ส่วนความรู้สึกของผู้ดูแลต่ออาการของผู้ป่วย ภาระอื่น ๆ นอกจากการดูแลผู้ป่วย ความสามารถทำกิจวัตรเองและความเครียดสัมพันธ์กับภาระการดูแลปานกลาง  ส่วนความต้องการการสนับสนุนของผู้ดูแลคือต้องการคำแนะนำการดูแลและแหล่งที่ให้ความช่วยเหลือ

สรุป : กลุ่มตัวอย่างมีความเครียดระดับปานกลางและความรู้สึกเป็นภาระการดูแลน้อย  หากมีภาระอื่น ๆ นอกจากการดูแลผู้ป่วยจะส่งผลต่อความเครียดและภาระการดูแล และระดับความเครียดสัมพันธ์กับความรู้สึกเป็นภาระ ส่วนความต้องการการสนับสนุนของผู้ดูแลคือต้องการคำแนะนำการดูแลและแหล่งที่ให้ความช่วยเหลือ ดังนั้นการให้คำแนะนำหรือความรู้ในการดูแลและแหล่งที่ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ดูแล เพื่อเป็นการลดความเครียดในการดูแล ซึ่งความรู้สึกเป็นภาระในการดูแลจะน้อยลงด้วย ทำให้ผู้สูงอายุโรคซึมเศร้าไม่ถูกทอดทิ้งจากผู้ดูแล

References

Institute of Population and Society. Population information. Mahidol University [online]. Available from: http://hp.anamai.moph.go.th/soongwai/statics/about/soongwai/topic 006.php [2010 May 10].

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานผลเบื้องต้นการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2557: 5-7.

Anderson AN. Treating depression in old age: the reasons to be positive. Age and Aging 2011; 30: 13-7.

Volkert J, Schulz H, Härter M, Wlodarczyk O, Andreas S. The prevalence of mental disorders in older people in Westerncountries-a meta-analysis. Aging Res Rev2013; 12: 339-53.

Gottfries CG. Late life depression. Eur Arch Psychiatry Clin Neurosci 2001; 251 (Suppl.2).

Lyness JM, Heo M, Datto C, Ten Have TR, Katz IR, et al. Outcomes of minor and subsyndromal depression among elderly patients in primary care settings. Ann Intern Med 2006; 144(7): 496-505.

วลัยพร นันท์ศุภวัฒน์, จิระภา ศิริวัฒนเมธานน์, พร้อมจิตร ห่อนบุญเหิม. สุขภาพจิตของผู้สูงอายุ. วารสารสมาคมพยาบาลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2552; 27(1): 27-32.

Khalsa SB. Yoga as a therapeutic intervention: a bibliomentric analysis of published research studies. Indian J Physiol Pharmacol 2004; 48(3): 269-85.

Kirkwood GR, Tuffrey H, Ridchardson V, Pilkington JK. Yoga for anxiety : a systematic review of the research evidence. Br J Sports Med 2005; 39: 884-91.

Conwell Y, Brent D. Suicide and aging I: Patterns of psychiatric diagnosis. In: Pearson JL, Conwell Y, editors. Suicide: international perspectives. Springer 1996: 15-30.

ดาราวรรณ ต๊ะปิ นตา. ภาวะซึมเศร้า: การบำบัดและการให้การปรึกษาโดยการปรับความคิดและพฤติกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 3. เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์; 2556.

พจนา เปลี่ยนเกิด. โรคซึมเศร้า: บทบาทพยาบาลในการดูแลรักษา. วารสารพยาบาลทหารบก 2557; 15(1): 18-21.

อัมพร เบญจพลพิทักษ์, ลัดดา ดำริการเลิศ. การจัดการความรู้และสังเคราะห์แนวทางปฏิบัติของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล: แนวทางการดูแลรักษาภาวะซึมเศร้าและผู้มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย. นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง; 2553.

ศูนย์สารสนเทศ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. สถิติการรับบริการของผู้ป่วย สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา; 2559.

Fava GA, Ruini C, Belaise C. The concept of recovery in major depression. Psychol Med 2007; 37(3): 307-17.

อรพิน คำโต, รังสิมันต์ สุนทรไชยา. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการปรับตัวของผู้ป่ วยโรคซึมเศร้าวัยสูงอายุ. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2557; 28(2): 74-87.

บุษราคัม จิตอารีย์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุชุมชน จังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2555.

อรสา ใยยอง, พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย. ภาวะซึมเศร้าและอารมณ์เศร้าโศกจากการสูญเสียของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ จังหวัดนนทบุรี. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2554; 56(2): 117-28.

สุมณทิพย์ บุญเกิด, ปวีณา ระบำโพธิ์, สมฤดี ดีนวน พะเนา, ศริญญา นาคสระน้อย, กัลยา ไผ่เกาะ. ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมกับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุของสถานสงเคราะห์คนชรา. วารสารพยาบาลทหารบก 2561; 19(1): 182-90.

ณหทัย วงศ์ปการันย์. จิตเวชศาสตร์ผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2551; 53 (ฉบับผนวก 1): S39- S46.

รสรินทร์ เกรย์. เอกสารทางวิชาการการดูแลผู้สูงอายุ ความสุขและความเครียด สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. พิมพ์ครั้งที่ 1. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม; 2556.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, พิมพ์มาศ ตาปัญญา. แบบวัดความเครียดสวนปรุง (Suanprung Stress Test-20, SPST - 20) รายงานการวิจัยเรื่องการสร้างแบบวัดความเครียดสวนปรุง. โรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่; 2540.

ณัฎฐ์กฤต เชาน์วรารักษ์, รังสิมันต์ สุนทรไชยา. ประสบการณ์ของผู้ดูแลวัยสูงอายุในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคซึมเศร้า. วารสารพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2559; 30(1):110-22.

กมลทิพย์ วิจิตรสุนทรกุล, สัญชัย ชาสมบัติ. สำนักโรคไม่ติดต่อ: การศึกษาสถานการณ์การเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของประเทศไทย [online]. Available from: http://www.thaincd.com/document/file/info/non-communicable disease [2017 Dec 30].

อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย, พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย. การบำบัดรักษาทางจิตสังคมสำหรับโรคซึมเศร้า. กรุงเทพมหานคร: ธนาเพลส; 2553.

สาวิตรี สิงหาด. การพยาบาลผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2559; 18(3): 15-24.

นภา พวงรอด. การศึกษาภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในจังหวัดนนทบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2558; 2(1): 63-74.

สมพร รุ่งเรืองกลกิจ. เพศหญิงหรือความเป็นหญิงจึงนำมาสู่การเป็นโรคซึมเศร้า. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2555; 57(1): 61-74.

พัชราภัณฑ์ ไชยสังข์, สิริกร สุธวัชณัฐชา, ปริมวิชญา อินต๊ะกัน, สาบใจ ลิชนะเธียร. ศึกษาปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในเขตเมือง. การพยาบาลและการศึกษา 2556; 6(1): 27-37.

สายพิณ ยอดกุล, จิตภินันท์ ศรีจักรโคตร. ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุโรคเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลบุรีรัมย์. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2555; 30(3): 50-7.

NCD Risk Factor Collaboration. Worldwide terns in blood pressure from 1975 to 2015: a pooled analysis of 1479 population-based measurement studies with 191 million participants. Lancet 2017; 389: 37-55.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-11

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ