ความเครียดและการจัดการความเครียดพยาบาลวิชาชีพ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

ผู้แต่ง

  • ดุษฎี อุดมอิทธิพงศ์ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
  • พลภัทร์ โล่เสถียรกิจ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
  • ศศิธร เก็มเส็น โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์
  • กฤตนัย แก้วยศ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
  • เกยูรมาศ อยู่ถิ่น สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

การจัดการความเครียด, ความเครียด, พยาบาลวิชาชีพ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความเครียดและการจัดการความเครียดพยาบาลวิชาชีพสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

วัสดุและวิธีการ : เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานกลุ่มงานผู้ป่วยใน และกลุ่มงานผู้ป่วยนอก/ฉุกเฉิน สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา 144 คน ระหว่างเดือนตุลาคม - เดือนธันวาคม พ.ศ.2559  เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความเครียด (ST5) และแบบสอบถามการจัดการความเครียด แสดงความชุกของระดับความเครียดเป็นความถี่และร้อยละ และวิเคราะห์ความความสัมพันธ์ระหว่างวิธีการจัดการความเครียดและระดับความเครียดโดยใช้การทดสอบไคสแควร์ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

ผล : พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานกลุ่มงานผู้ป่วยในและกลุ่มงานผู้ป่วยนอกจิตเวช/ฉุกเฉิน 144 คน ยินดีตอบแบบสอบถาม 139 คน (ร้อยละ 96.5) ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 89.2 และมีอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 40 ปี ร้อยละ 61.2 (อายุเฉลี่ย 37.4 ± 10.4  ปี ) การศึกษาระดับปริญญาตรีร้อยละ 59.7 ส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจำตัวร้อยละ 73.4 มีตำแหน่งทางวิชาการระดับชำนาญการร้อยละ 48.2 ส่วนใหญ่ปฏิบัติงานกลุ่มงานผู้ป่วยในร้อยละ 89.9 และปฏิบัติงานมากกว่า 10 ปี ร้อยละ 48.9พยาบาลวิชาชีพส่วนใหญ่ไม่มีความเครียดร้อยละ 67.6 การจัดการความเครียดรายด้านของพยาบาลวิชาชีพที่ใช้บ่อยครั้ง/เป็นประจำมากที่สุดคือ ด้านการยอมรับความจริงร้อยละ 91.4 รองลงมาคือด้านการแสวงหาความสนับสนุนร้อยละ 61.9 พบว่าพยาบาลวิชาชีพที่สงสัยว่ามีความเครียดหรือมีความเครียดมีความสัมพันธ์กับการจัดการความเครียดด้านการบิดเบือนความจริง

สรุป : พยาบาลที่ปฏิบัติติงานกลุ่มงานผู้ป่วยในและกลุ่มงานผู้ป่วยนอก/ฉุกเฉิน มีการจัดการความเครียดที่ใช้บ่อยครั้ง/เป็นประจำมากที่สุดคือ ด้านการยอมรับความจริง รองลงมาคือด้านการแสวงหาความสนับสนุน พบว่าการจัดการความเครียดด้วยวิธีการบิดเบือนความจริงมีความสัมพันธ์กับพยาบาลวิชาชีพที่สงสัยว่ามีความเครียดหรือมีความเครียด

References

Karasek R, Theorell T. Healthy work: stress, productivity and the reconstruction of working life. New York: Basic Books; 1990.

สมชัย ตั้งพร้อมพันธ์. การบริหารความเครียดของผู้น้ำ. กรุงเทพฯ : โรงพยาบาลเกษมราษฎร; 2556.

Sawaengdee K, Teerawanviwat D, Lorchirachoonkul V, Jitthavech J. Working life table of registered nurses in Thailand. Thai Population Journal 2009; 1: 73-93.

วิจิตร ศรีสุพรรณ, กฤษดา แสวงดี. ข้อเสนอเชิงนโยบายในการแก้ปัญหาการขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทย. วารสารสภาการพยาบาล 2555; 27(1): 5-12.

Ayomi MB. Factors affecting nurses’ workplace stress Inyowari hospital of Sentani District, Jayapura. International conference on social science and biodiversity of Papua and Papua New Guinea 2016: Jayapura, Indonesia.

Sailaxmi G, Lalitha K. Impact of a stress management program on stress perception of nurses working with psychiatric patients. Asian J Psychiatr 2015; 14: 42-5.

Abdalrahim AA. Stress and coping among psychiatric nurse. Middle East J Nur 2013; 7(4): 30-7.

Barutcu CD, Ergin S. Examination of professional commitment and stress management among nurses from different generations. Int J of Caring Sci 2017; 10(1): 456-63.

Godwin A, Suuk LA, Selorm FH. Occupational stress and its management among nurses at St. Dominic hospital, Akwatia, Ghana. Health Sci J 2016; 10(6): 1-7.

Nualsuwan K, Prasittivatechakool A, Prajankett O. Stress and coping strategies of the Royal Thai Army new privates. J Royal Thai Army Nurs 2012; 13(2): 72-81.

Sizer FS, Whitney E. Nutrition: Concepts and controversies. Belmont, CA: Wadsworth Cengage Learning; 2011. 12. ภิรญา ราชสันเทียะ, ปิยดิถิ์ เจริญสุข. ความสุขของพยาบาลสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา 2559; 10(1): 1-14.

Zhou B. Factors affecting nurses’ work burnout: a case study of Bangkok metropolitan authority’s medical college hospital and Vajira hospital [Master thesis]. Bangkok: National Institute of Development Administration; 2009.

Silpakit O. Srithanya stress scale. J Ment Health Thai 2010; 16(3): 177.

Boonperm N. Stress and coping of Thai traditional medicine students of Rajamangala University of Technology Thanyaburi [Master thesis]. Nakhon Prathom: Silpakorn University; 2014.

Sharifah ZSY, Afiq IM, Chow CY, Siti SD. Stress and its associated factors among in-patient ward nurses in a public hospital in Kuala Lumpur. Malaysian J Pub Health Med 2011; 11(1): 78-85.

Mwinga C, Mugala D. Prevalence and causes of stress among nurses at Ndola Central Hospital – A nurses’ perspective. Int J Novel Res Healthc Nurs 2015; 2(3): 158-65.

Cheung T, Yip PSF. Depression, anxiety and symptoms of stress among Hong Kong nurses: a cross-sectional study. Int J Environ Res Public Health 2015; 12: 11072-100.

Lazarus RS, Folkman S. Stress appraisal and coping. New York: Springer; 1984.

Engel GL. Psychologial development in health and disease. Philadelphia: W.B. Saurdevs Co; 1962.

Lertsakornsiri M. The stress, stress management of nursing students during practice in the labor room. Kuakarun J Nurs 2015; 22(1): 7-16.

Bunpoon A, Sonsupap R. Journal of finance, investment, marketing and business management 2014; 4(1): 316-30.

Siangpror P, Rawiworrakul T, Kaewboonchoo O. Factors correlated to job stress among nurses in specialised cancer hospitals, central region of Thailand. J Health Sci Res 2014; 8(1): 17-27.

Ohue T, Moriyama M, Nakaya T. The Effect of the group cognitive behavior therapy in a nurse’s burnout and. Health 2015; (7): 1243-54.

Happell B, Reid-Searl K, Dwyer T, Caperchione CM, Gaskin CJ, Burke KJ. How nurses cope with occupational stress outside their workplaces. Collegian 2013; 20(3): 195-9.

McMeekin DE, Hickman RL Jr, Douglas SL, Kelley CG. Stress and coping of critical care nurses after unsuccessful cardiopulmonary resuscitation. Am J Crit Care 2017; 26(2): 128-35.

Shehata AMGH, Ramadan FH. Relationship between Emotional Regulation Strategies and self–reported ego defense styles among nursing interns at Alexandria, Main university hospital. J Nurs Health Sci 2017; 6(1): 14-23.

Malone JC, Cohen S, Liu SR, Vaillant GE, Waldinger RJ. Adaptive midlife defense mechanisms and late-life health. Personal Individ Differ 2013; 55(2): 85-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-11

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ