การปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยก่อน ระหว่าง และหลังทำการรักษาด้วยไฟฟ้าแบบใช้ยาระงับความรู้สึกของพยาบาลวิชาชีพ

ผู้แต่ง

  • นารีรัตน์ ทองยินดี สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
  • ดวงตา กุลรัตนญาณ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
  • กลิ่นชบา สุวรรณรงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • อณิมา จันทรแสน สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

การปฏิบัติการพยาบาล, การรักษาด้วยไฟฟ้าแบบใช้ยาระงับความรู้สึก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยก่อน ระหว่าง และหลังทำการรักษาด้วยไฟฟ้าแบบใช้ยาระงับความรู้สึกของพยาบาลวิชาชีพ และอาการข้างเคียง ภาวะแทรกซ้อนของการรักษาด้วยไฟฟ้าแบบใช้ยาระงับความรู้สึก

วัสดุและวิธีการ : เป็นการศึกษาเชิงสำรวจศึกษาจากพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติการพยาบาลเตรียมผู้ป่วยก่อนการรักษาด้วยไฟฟ้าแบบใช้ยาระงับความรู้สึก จำนวน 79 คน พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยระหว่างการรักษาด้วยไฟฟ้าแบบใช้ยาระงับความรู้สึก จำนวน 63 คน พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยหลังการรักษาด้วยไฟฟ้าแบบใช้ยาระงับความรู้สึก จำนวน 37 คน และอาการผู้ป่วยภายหลังการรักษาด้วยไฟฟ้าแบบใช้ยาระงับความรู้สึก จำนวน 123 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบสอบถามการปฏิบัติการพยาบาลเตรียมผู้ป่วยก่อนทำการรักษาด้วยไฟฟ้าแบบใช้ยาระงับความรู้สึก    2) แบบสังเกตการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยระหว่างทำการรักษาด้วยไฟฟ้าแบบใช้ยาระงับความรู้สึก 3) แบบสังเกตการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยหลังทำการรักษาด้วยไฟฟ้าแบบใช้ยาระงับความรู้สึก 4) เครื่องมือสำรวจอาการของผู้ป่วยภายหลังการรักษาด้วยไฟฟ้าแบบใช้ยาระงับความรู้สึก ซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณภาพ ค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1 ทั้ง 4 ชุด และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ แจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ

ผล : ความถูกต้องของการปฏิบัติการพยาบาลเตรียมผู้ป่วยก่อนทำ ระหว่างทำ และหลังการรักษาด้วยไฟฟ้าแบบใช้ยาระงับความรู้สึก พยาบาลวิชาชีพทุกคนสามารถปฏิบัติตามข้อตกลงในการส่งผู้ป่วยรักษาด้วยไฟฟ้าแบบระงับความรู้สึกได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 98.3 ร้อยละ 92.2 และร้อยละ 89.9 ตามลำดับ อาการผู้ป่วยภายหลังรักษาด้วยไฟฟ้าแบบใช้ยาระงับความรู้สึก  พบว่า ผู้ป่วยมีอาการข้างเคียงของการรักษาด้วยไฟฟ้าแบบใช้ยาระงับความรู้สึกส่วนใหญ่ คือ มีอาการหลงลืม ร้อยละ 8.9 ส่วนภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการรักษาด้วยไฟฟ้าพบเพียง ร้อยละ 0.8 คือความดันโลหิตสูง

สรุป : การปฏิบัติการพยาบาลเตรียมผู้ป่วยก่อนทำ ระหว่างทำ และหลังทำการรักษาด้วยไฟฟ้าแบบใช้ยาระงับความรู้สึก  สามารถนำไปใช้เป็นแนวปฏิบัติการพยาบาลรักษาด้วยไฟฟ้าแบบใช้ยาระงับความรู้สึกได้จริง โดยไม่มีความเสี่ยงหรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง

References

มารยาท โยทองยศ, ปราณี สวัสดิสรรพ์. การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัย. [online]. Available from://www.fsh.mi.th/km/wp-content/uploads/2014/04/resch.pdf [2018 Jan 20].

มาตรฐานการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. กรมสุขภาพจิตและสำนักการพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข: 2556; 177-97.

อังกาบ ปราการัตน์, วรภา สุวรรณจินดา. ตำราวิสัญญีวิทยา การเตรียมผู้ป่วยก่อนผ่าตัด. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร; 2548.

ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, คัคนางค์ นาคสวัสดิ์, วรรณี สัตยวิวัฒน์, และชูชื่น ชีวพูนผล. ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียด และการจัดการกับความเครียดในพยาบาล. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2553; 28(1): 67-75.

เครือวัลย์ แห่งชาติ. ศึกษาการประเมินผลการใช้ข้อกำหนดการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยไฟฟ้า.[วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2548.

วิญญู ชะนะกุล, พลภัทร์ โล่เสถียรกิจ. การรักษาผู้ป่วยโรคจิตเภทด้วยไฟฟ้าสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา 2557; 8(1): 22-30.

พงศธร ระพีพัฒน์ชัย. ผลการรักษาด้วยไฟฟ้าโดยใช้ยาระงับความรู้สึกในผู้ป่วยจิตเวชของสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. 2550.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-11

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ