ผลการใช้รูปแบบการพยาบาลเจ้าของไข้ที่บูรณาการทฤษฎีการพยาบาลของคิง สำหรับผู้ป่วยจิตเภทต่อการรับรู้การสื่อสารเชิงการบำบัดของพยาบาลวิชาชีพ
คำสำคัญ:
การสื่อสารเชิงการบำบัด, ทฤษฎีการพยาบาลของคิง, ผู้ป่วยจิตเภท, รูปแบบพยาบาลเจ้าของไข้บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เปรียบเทียบการรับรู้การสื่อสารเชิงการบำบัดของพยาบาลวิชาชีพก่อนและหลังการใช้รูปแบบการพยาบาลเจ้าของไข้ที่บูรณาการทฤษฎีการพยาบาลของคิง
วัสดุและวิธีการ : เป็นวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลจำนวน 30 คน เลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ รูปแบบการพยาบาลเจ้าของไข้ที่บูรณาการทฤษฎีการพยาบาลของคิงสำหรับผู้ป่วยจิตเภท เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามการรับรู้การสื่อสารเชิงการบำบัดของพยาบาลวิชาชีพ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.86 และค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.83 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยสถิติ Mann-Whitney U Test และเปรียบเทียบความแตกต่างภายในกลุ่มด้วยสถิติ Wilcoxon Signed Ranks Test
ผล : ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าคะแนนเฉลี่ยการรับรู้การสื่อสารเชิงการบำบัดของพยาบาลวิชาชีพกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 2) ค่าคะแนนเฉลี่ยการรับรู้การสื่อสารเชิงการบำบัดของพยาบาลวิชาชีพกลุ่มทดลอง ภายหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05
สรุป : รูปแบบการพยาบาลเจ้าของไข้ที่บูรณาการทฤษฎีการพยาบาลของคิง สามารถเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้พยาบาลเกิดความตระหนักถึงการสื่อสารเชิงบำบัดให้มากขึ้น ดังนั้นผู้บริหารควรสนับสนุนการใช้เครื่องมือดังกล่าวนี้เพื่อให้เกิดคุณภาพทางการพยาบาลที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
References
Kaplan HI, Sadock BJ. Kaplan & Sadock synopsis of psychiatry: behavioral sciences and clinical psychiatry. 8thed. Williams & Wilkins; 1998.
Sadock BJ, Sadock VA. Comprehensive textbook of psychiatry. 7thed. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2000.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการปฎิบัติงานประจำปี. นนทบุรี: กองแผนงาน กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2556.
เยาวภา จันทร์มา. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลเจ้าของไข้ในหอผู้ป่วยหนักกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ [การค้นคว้าแบบอิสระ]. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2555.
นิตยา ศรีญาณลักษณ์. การบริหารการพยาบาลโครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: บริษัทธนาเพรส จำกัด; 2552.
Marram GD, Barrett MW, Bevis EO. Primary nursing: A model for individualized care. 2nd ed. Saint Louis: Mosby; 1979.
King IM. A Theory for Nursing: Systems, Concepts, Process. A Wiley Medical Publication; 1981.
Mc Donald SF. Principles of communication. In K.M. for tinash, P.A. Holiday Worret (eds.). Psychiatric mental health nursing. Saint. Louis: Mosby; 2004.
ฐิรพร อัศววิศรุต, สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, รุ้งรังสี วิบูลย์ชัย. การพัฒนารูปแบบการมอบหมายงานในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม. วารสารกองการพยาบาล 2557: 41: 54-60.
วรรณา เอกอนันต์ธรรม. ผลของการใช้รูปแบบทีมการพยาบาลที่บูรณาการทฤษฎีการพยาบาลของคิงต่อสัมพันธภาพผู้ร่วมงานของพยาบาลวิชาชีพ [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพ: วิทยาลัยเซนต์หลุยส์; 2552.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา