ประสิทธิผลของโปรแกรมการเยี่ยมบ้านต่อระยะเวลาการอยู่บ้านของผู้ป่วยจิตเภทในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • สาวิตรี แสงสว่าง สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
  • ประเทือง ละออสุวรรณ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
  • อัญชลี ศรีสุพรรณ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
  • กาญจนา สุดใจ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

การเยี่ยมบ้าน, ผู้ป่วยจิตเภท, ระยะเวลาการอยู่บ้าน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการเยี่ยมบ้านต่อระยะเวลาการอยู่บ้านของผู้ป่วยจิตเภทในกรุงเทพมหานคร

วัสดุและวิธีการ : เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยจิตเภทที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร และได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยในซ้ำภายใน 28 วัน ของสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ระหว่างเดือนตุลาคม 2556 – กันยายน 2557 คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงเข้ากลุ่มควบคุม 29 คน และกลุ่มทดลอง 27 คนโดยกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลหลังจำหน่ายตามปกติ และกลุ่มทดลองได้รับการดูแลหลังจำหน่ายด้วยโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยจิตเภท   ที่บ้าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1)โปรแกรมการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่บ้านของสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ซึ่งพัฒนามาจากรูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้านของภัทราภรณ์ และคณะ ตามแนวคิดการพัฒนาทักษะของ  Dreyfus  and  Dreyfus 2) แบบประเมินอาการทางจิต Brief Psychotic Rating Scale (BPRS) 3) แบบวัดคุณภาพชีวิตผู้ป่วยจิตเวช และ 4) แบบวัดภาระในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และเปรียบเทียบความแตกต่างของระยะเวลาการอยู่บ้านได้ของผู้ป่วยกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยสถิติเชิงอนุมาน Unpaired t-test

ผล : ผู้ป่วยกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยของระยะเวลาการอยู่บ้านเท่ากับ 126.41 วัน และกลุ่มทดลองเท่ากับ 233.78 วัน ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มทดลองสามารถอยู่บ้านได้นานกว่ากลุ่มควบคุม 107.37 วัน ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.005) ผู้ป่วยมีอาการทางจิตสงบร้อยละ 74.07 และมีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับสูง (x = 2.87, SD = 0.93) ผู้ดูแลผู้ป่วยมีความรู้สึกเป็นภาระในการดูแลผู้ป่วยอยู่ในระดับปานกลาง  (x = 46.28, SD = 16.12)

สรุป : โปรแกรมการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่บ้านในกรุงเทพมหานคร เป็นการพัฒนาทักษะการดูแลผู้ป่วยจิตเภทให้กับผู้ป่วยและครอบครัว โดยให้ชุมชนและศูนย์บริการสาธารณสุขมีส่วนร่วม สามารถช่วยให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองและใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี ผู้ดูแลสามารถดูแลผู้ป่วยจิตเภทได้โดยไม่รู้สึกเป็นภาระมากเกินไป

References

มาโนช หล่อตระกูล. โรคจิตเภทในจิตเวชศาสตร์รามาธิบดี. กรุงเทพมหานคร: บริษัทบี ยอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์; 2547.

พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์, วชิระ เพ็งจันทร์, วรวรรณ จุฑา. ระบาดวิทยาโรคจิตเวชร่วมในคนไทย: การศึกษาระดับชาติ 2551. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2556; 21(1): 14-23.

สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ.2552. นนทบุรี: บริษัท เดอะกราฟิโกซิสเต็มส์ จำกัด; 2555.

Crisp AH, Gelder MG. Stigmatization of people with mental illnesses. Br J Psychiatry 2000; 177: 4-7.

Bhugra D. Attitudes towards mental illness; a review of the literature. Acta Psychiatr Scand 1989; 80: 1-12.

อรุณี โสตถิวนิชย์วงศ์, นิตยา สุริยะพันธ์. ผลการใช้โปรแกรม PDSD ต่อความสามารถในการทำหน้าที่ของผู้ป่วยจิตเภท. วารสารโรงพยาบาลศรีธัญญา 2554; 12(2): 22-7.

ณัฐฐิญา โสพิศพรมงคล, รังสิมันต์ สุนทรไชยา. ผลของโปรแกรมกลุ่มแบบหลายครอบครัวต่อการทำหน้าที่ของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2558; 29(1): 139-50.

ปราณี ประไพวัชรพันธ์. คู่มือการดูแลครอบครัวสำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. นครราชสีมา: มปท.; 2554.

สุวนีย์ เกี่ยวกิ่งแก้ว. การพยาบาลจิตเวช. พิษณุโลก: รัตนสุวรรณการพิมพ์; 2545.

ประภาส อนันตา, จรัญญู ทองเอนก. ผลของการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการเยี่ยมบ้าน ตำบลขวาว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ปี พ.ศ.2555. วารสารสำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น 2556; 20(1): 1-8.

สินเงิน สุขสมปอง, สาวิตรี แสงสว่าง, ดุษฎี อุดมอิทธิพงศ์, วัฒนาภรณ์ พิบูลอาลักษณ์. ความชุกของโรคจิตเวชในสังคมเมืองและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง: การทบทวนวรรณกรรม. วารสารสวนปรุง 2559; 32(1): 32-46.

กลุ่มงานจิตเวชและสุขภาพจิตชุมชน สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. คู่มือปฏิบัติการรายกรณี สำหรับพยาบาลเยี่ยมบ้าน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา; 2551.

ภัทราภรณ์ ทุ่งปันคำ, สิริลักษณ์ วรรธนะพงษ์, ลำเนาว์ เรืองยศ, ปริทรรศ ศิลปกิจ, สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล. การดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้าน: รูปแบบและโปรแกรมการพัฒนาทักษะของผู้ดูแล. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการเรื่องสุขภาพจิตกับภัยพิบัติ, เชียงใหม่; 2548.

Tungpunkom P. Staying in balance: Skill and role development in psychiatric caregiving. [Ph.D. thesis]. San Francisco: University of California; 2000.

Overall JE, Gorham DR. The brief psychiatric rating scale. Psychological Reports 1962; 10: 799-812.

พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์. โครงการอบรมแนวทางการสัมภาษณ์และให้คะแนน BPRS ในรูปแบบของ T-PANSS. ในเอกสารประกอบการบรรยายเรื่องการประเมินอาการผู้ป่วยจิตเวช โรงพยาบาลสวนปรุง. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง.

กาญจนา สุทธิเนียม, ชลพร กองคำ. การพัฒนาแบบวัดคุณภาพชีวิตผู้ป่วยจิตเวช สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2555; 26(3): 28-40.

นพรัตน์ ไชยชำนิ. ผลของโปรแกรมการดูแลแบบองค์รวมต่อภาระและความสามารถในการดูแลผู้ป่วยจิตเภท [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2544.

เมธา พันธ์รัมย์. การเยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวชโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเสาเดียว อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์. [online]. Available from: http://203.157.162.13/~nonghong/modules.php?name=News&file=article&thold=-1&mode=flat&order=0&sid=9 [2015 Nov 26].

David MC, Wendy E. Thinking outside the pillbox - medication adherence as a priority for health care reform. N Engl J Med 2010; 362: 1553-55.

อมรา ศรีกุล. การใช้มาตรฐานการพยาบาลในชุมชนในผู้ป่วยจิตเวช: กรณีศึกษาผู้ป่ วยโรคจิตเภทที่มีความคิดหวาดระแวง. วารสารโรงพยาบาลพิจิตร 2556; 28(1): 81-92.

Hassain HAA, Tarada M, Redha M, Sequeira RP. Evaluation of community psychiatric-home visit treatment versus outpatient treatment of chronic schizophrenia patients in Bahrain. The Arub Journal of Psychiatry 2009; 20(1): 34-41.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-11

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ